green and brown plant on water

การเพิ่มพลังจิตโดยกสิณ

เวลาอ่าน : 4 นาที

เสียงธรรมจากห้อง  “เมตตาภิรมย์กรรมฐาน”  

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน  2567

เรื่อง การเพิ่มพลังจิตโดยกสิณ

 โดย อาจารย์ คณานันท์  ทวีโภค

กำหนดสติในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วร่างกายของเรา ผ่อนคลายร่างกายกล้ามเนื้อทุกส่วน ปลดความรู้สึก ความเกี่ยวเนื่อง ความเกาะเกี่ยวในร่างกาย ด้วยความรู้สึกปล่อยวางผ่อนคลาย ให้ความรู้สึกผ่อนคลายนี้เป็นตัวปลด   ตัดความเกาะในร่างกายขันธ์ 5 ของเรา ผ่อนคลายปล่อยวางเพื่อแยกกายแยกจิต จากนั้นพิจารณาปล่อยวาง ในความคิด ความห่วง ความกังวลทั้งหลาย ทั้งภารกิจการงาน ทั้งเรื่องที่เราพะวักพะวงวิตกกังวลทั้งหลาย  ปล่อยวางความห่วง ความกังวลออกไปจากใจของเรา วางทั้งกาย วางทั้งจิต จากนั้นจึงย้ายสติความรู้สึก มาอยู่กับลมหายใจ จินตภาพกับความรู้สึก ว่าลมหายใจของเรานั้น เป็นละอองระยิบระยับประดุจแพรวไหม ประดุจประกายละเอียดของกากเพชรที่พริ้วผ่านเข้าออกในกาย ใช้จิตกำหนดพิจารณากลั่นมวลอากาศที่เราหายใจ เป็นปราณเป็นพลังชีวิต หายใจเข้า กระแสลมหายใจที่เหมือนกับแพรวไหมพริ้วผ่านเข้ามาสู่ร่างกาย ผ่านจมูก ผ่านอก ผ่านท้อง หายใจออก ลมหายใจม้วนผ่านท้อง อก จมูก ถ่ายเทออกไปตามลำดับ จดจ่อต่อเนื่องเห็นกระแสลมหายใจ ต่อเนื่องลื่นไหลเป็นประกายพรึก พริ้วผ่านเข้าออก สติจดจ่ออยู่กับลมหายใจนั้น ให้สติไม่คลาดจากลมหายใจแม้แต่ขณะจิตเดียว อยู่กับลมหายใจที่เป็นเหมือนกับแพรวไหมพริ้วผ่านเข้าออก ลมหายใจช้า ลึก ยาว ละเอียด ลมหายใจดึงปราณดึงพลังชีวิต เข้ามาเติมในร่างกาย กำหนดสติรู้ในลมหายใจ ลมหายใจละเอียดเบา เราก็รู้ลมหายใจละเอียดเบา กำหนดรู้ ว่าลมปราณ ลมหายใจ สัมพันธ์กับอารมณ์จิต สัมพันธ์กับอารมณ์ใจของเรา ลมหายใจยิ่งเบายิ่งละเอียด จิตเรายิ่งสงบเข้าสู่ฌาน เข้าสู่สมาธิที่ลึกขึ้น ละเอียดขึ้น ลมหายใจหยาบแปลว่าใจของเรายังมีอารมณ์หนัก ยังมีความกังวล ยังมีความทุกข์ มีความพะวักพะวง ลมหายใจยิ่งละเอียดราบรื่นต่อเนื่องลื่นไหลเบา จิตยิ่งเข้าสู่สภาวะของสมาธิ อยู่กับลมหายใจที่ละเอียดเป็นเหมือนกับแพรวไหมพริ้วผ่านเข้าออก

จากนั้นใช้สติกำหนดรู้ เมื่อลมหายใจที่ละเอียดนี้ อารมณ์จิตที่เบานี้ มีความสุขจากความสงบของจิต ลมหายใจยิ่งเบาละเอียด อารมณ์จิตเรายิ่งเป็นสุข กำหนดรู้พิจารณาว่าความสุขที่ปรากฏนี้ คือความสุขจากความสงบ ความสุขของสมาธิ ความสุขที่จิตเราหยุดจากการปรุงแต่ง ความวุ่นวาย ความทุกข์ ความห่วง ความกังวล รวมความว่าเป็นนิวรณ์ 5  อยู่กับความสงบนิ่ง ลมหายใจละเอียดราบรื่นต่อเนื่องลื่นไหล จากนั้นกำหนดจิต ต่อไป พิจารณาว่า เมื่อลมหายใจนี้ยังความสงบ เราก็จะรู้จักใช้ คือรู้จักใช้อานาปานสติ ใช้การกำหนดลม อยู่กับลมหายใจสบาย อยู่กับลมหายใจที่เป็นปราณ เป็นความละเอียด ในการพักจิตจากความวุ่นวาย จากความกังวล จากความสับสน กำหนดรู้ว่า การทรงอารมณ์ ในลมหายใจ เป็นวิหารธรรม คือธรรมเครื่องอยู่ของจิต ให้จิตรวมลงสู่ความสงบ ดับความวุ่นวายของใจเราได้ กำหนดเข้าสู่ความสงบ หายใจ เห็นภาพลมหายใจเป็นประกายพรึก เป็นแพรวไหมพริ้วผ่านเข้าออก ช้าลึก ยาว ละเอียด สงบเปี่ยมพลัง

จากนั้นกำหนดจิตต่อไป กำหนดหยุดจิต  ทำความรู้สึกว่าจิตของเราหยุด หยุดจากการปรุงแต่ง หยุดจากความชัดส่าย หยุดจากความวุ่นวายทั้งหลาย นิ่งหยุด เมื่อหยุดจิต ได้ ก็ให้กำหนดรู้ว่า เราหยุดความคิด หยุดการปรุงแต่ง หยุดความวุ่นวาย จนรู้สึกได้ว่าสภาวะที่เป็นตัวหยุดนี้  คือสภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ให้จิตเรามีความเข้าใจชัดเจน ว่าเมื่อเราเข้าสู่ความสงบ เราหยุดจิต หยุดคิด หยุดปรุงแต่ง หยุดซัดส่าย หยุดวุ่นวาย  จิต รวมเป็นหนึ่ง เอกัคคตารมณ์ และอุเบกขาอารมณ์ กำหนดรู้ดูจิตในอุเบกขารมณ์  อุเบกขารมณ์ก็คือสภาวะที่ ถึงเราจะได้ยินเสียงอยู่บ้าง ผัสสะสัมผัสทางกาย ยังรู้สึกได้อยู่บ้าง แต่เบาลงและไม่รู้สึกว่ามันเป็นการรบกวน หรือวุ่นวาย และรู้ก็เป็นเพียงแต่ว่าสักว่ารู้ นั่นก็คือเราเข้าถึงอุเบกขา อุเบกขาต่อสิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้งปวง นั่นก็คือการหยุดจิต หยุดความคิด หยุดการปรุงแต่ง หยุดการซัดส่าย หรือส่งจิตออกนอก กำหนดหยุดจิต เมื่อหยุดจิตได้แล้ว เราก็กำหนดต่อไปว่า ฌาน 4 ในอานาปานสติเราได้เข้าถึง

  กำหนดตั้งจิตอธิษฐานวสีว่า ขอให้ข้าพเจ้ามีกำลังจิตตานุภาพ         เข้าถึงฌาน 4 ในอานาปานสติเข้าถึง เอกัคคตารมณ์ อุเบกขารมณ์ อันเป็นองค์ของฌาน 4  ได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ อารมณ์หยุดจิตนี้ อันที่จริงก็มีความสำคัญ หยุดการปรุงแต่ง ของการกระทบ ก็หยุดดับความทุกข์ ความวุ่นวายของใจ หยุดจิตจากนิวรณ์ 5 ประการ หยุดจิตจากการปรุงแต่งทางอายตนะ เมื่อจิตมันหยุดมันดับอกุศลได้ ตรงนี้เป็นการหยุดดับชั่วคราวด้วย กำลังอำนาจของตบะของฌาน ถึงเวลาเมื่อจิตมันสงบนิ่งเป็นอุเบกขารมณ์ แล้วเราจึงพิจารณาในวิปัสสนาญาณต่อ พิจารณาในข้อธรรมต่อ อันนี้ก็สามารถทำได้เลย

ต่อมาก็คือถ้าหากเราจะเดินจิตเข้าสู่กำลังของสมถะที่สูงขึ้น กำลังของสมถะที่สูงขึ้น สมถะคือกำลังของสมาธิ กำลังของจิต กำลังอันเกิดขึ้นจากความสงบของสมาธิ ขั้นที่ 1 ก็คือ การได้ฌานจากอานาปานสติ จากอานาปานสติ เราก็เดินจิตมาถึงฌาน 4 หยุดจิต ณ จุดที่เป็นตัวหยุด เราก็กำหนดให้ปรากฏภาพนิมิตเป็นดวงแก้ว นั่นก็คือกสิณ

คราวนี้เราก็เดินจิตเข้าสู่กสิณ คือการทำสมาธิจากการกำหนดภาพของจิต แต่คราวนี้ส่วนใหญ่ที่ท่านไม่ได้กล่าวถึงกันก็คือ การฝึกจิตให้ถึงขั้นกสิณนั้นไม่ใช่แค่นึกภาพอย่างเดียว ต้องเข้าถึงสภาวะกำลังคืออารมณ์พระกรรมฐานคืออารมณ์ของกสิณเช่นกสิณแต่ละกองนั้น เราจะกำหนดจิตยังไง กสิณแต่ละกองมีนิมิตคือภาพเหมือนกัน จะเป็นอุคคหนิมิตก็คือกสิณที่เป็นแก้วใส หรือปฏิภาคนิมิตที่เป็นเพชรประกายพรึก ขั้นตอนเหล่านี้มีภาพเหมือนกัน แต่มีกระแสพลังงาน มีกระแสพลัง กระแสของอารมณ์จิต แตกต่างกันในแต่ละกอง อันนี้ก็กล่าวถึงก่อนที่เราจะเดินจิตต่อ คราวนี้เมื่อเดินจิตจนกระทั่งเข้าถึงปฏิภาคนิมิต จบกองกสิณเรียบร้อย เราก็มีกำลังของสมถะที่สูงกว่านี้ นั่นก็คือ อรูปฌาน อรูปฌาน 4 หรือสมาบัติ 8  อันนี้ก็ถือว่าเป็นกำลังสมถะสูงที่สุดก็คืออรูป ถือว่าเป็นที่สุด

คราวนี้อรูป มีข้อแตกต่าง ถ้าจำหลักง่ายๆก็คือ เป็นการเพิก เพิกก็คือสลายล้าง ภาพทั้งหลาย รูปทั้งหลาย สิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้งหลาย สลายจนกลายเป็นความว่าง ความรู้สึกว่ากายนั้นมันสลายตัวไปหมด ขันธ์ 5 สลายตัวไปหมด สัญญาทั้งหลายคือภาพความทรงจำที่เรายึดติดยึดมั่นถือมั่น ยังเกาะ ยังมาปรุงแต่ง สลายมันไปจนหมด ดังนั้นอารมณ์จิต ของอรูปสมาบัตินี้ จริงๆแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก สำหรับบุคคลทั่วไปในการปฏิบัติ เพราะธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติของปุถุชนนั้นมีความยึดมั่นถือมั่น จะให้มาเพิกทิ้ง มาสลายทิ้งความทรงจำ ที่เรากอดที่เรายึดมานานความรู้สึกต่างๆ ผัสสะต่างๆที่เราชมชอบ ให้เราสลายทิ้ง บางคนปล่อยวางไม่ได้ แต่ถ้าปล่อยวางได้ สลายได้ ใช้กำลังของอรูปพิจารณาในวิปัสสนาญาณต่อ พิจารณาตัดภพจบชาติ พิจารณาว่าความว่างของอรูปไม่ใช่นิพพาน

คราวนี้ก็จะเป็นการตัดกิเลสโดยใช้กำลังของ อรูปหรือสมาบัติ 8 ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้อรูปหรือสมาบัติ 8 ในการตัดกิเลส ก็จะเกิดองค์ฌาน ญาณความรู้ที่เรียกว่าปฏิสัมภิทาญาณเกิดขึ้น เป็นความรู้อย่างยิ่ง เป็นคุณสมบัติสูงสุดในความเป็นพระอริยเจ้าในวิสัยของสาวกภูมิ อันนี้ก็เล่าทำความเข้าใจให้ฟัง ก่อนที่จะเดินจิตต่อ คราวนี้เราก็มาเดินจิตหยุดจิตจากอานาปานสติ กำหนดจิตนิ่งหยุด สงบนิ่ง ใจแย้มยิ้มผ่องใส จากนั้นในความนิ่ง กำหนดภาพนิมิต เห็นดวงจิตเราเป็นแก้วใสสว่าง นิ่งอยู่กับภาพดวงแก้วใสสว่าง เห็นจิตเป็นดวงแก้วทรงกลม

จากนั้นอธิษฐานจิตขอบารมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์มาประสิทธิ์ประสาท ให้การทรงอารมณ์จิต การเข้าถึงกสิณของข้าพเจ้า เข้าครบถ้วนทั้ง 10 กอง รวมกสิณทั้ง 10 กองเป็นหนึ่งเดียว จากนั้นในดวงแก้วใส เรากำหนดเริ่มต้นจาก กสิณธาตุทั้ง 4 คือกสิณดิน น้ำ  ลม ไฟ เริ่มต้นเห็นภาพในดวงแก้วนั้นภายในบรรจุด้วย

  • ดิน มีดินสีอรุณก็คือดินสีลูกรัง บรรจุอยู่เต็มดวงแก้วภายใน ภาวนาอธิษฐานจิตในใจว่า กำลังของกสิณดินเข้ามาสถิตอยู่ในดวงแก้วดวงจิตนี้ อธิษฐานจิต ปฐวีกสิณัง เห็นภาพ ดินอยู่ในดวงแก้วที่เป็นดวงจิตเราหยุดอยู่ อธิษฐานต่อไปว่า ปฐวีกสิณัง ธาตุดินของข้าพเจ้ามีกำลัง มีเดช มีฤทธิ์
  • จากนั้นกำหนดต่อไป ทำความรู้สึกว่าดวงแก้วภายในมีน้ำบรรจุอยู่ อธิษฐานจิต อาโปกสิณัง ธาตุน้ำของข้าพเจ้ามีกำลังมีเดช มีฤทธิ์ ภาวนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ภาพดวงแก้วที่มีน้ำบรรจุอยู่ปรากฏชัดเจน จากนั้นกำหนดจิตเพิกภาพน้ำออกไป
  • กลายเป็นเห็นลมเป็นลมหมุน หมุนอยู่ในดวงแก้ว ลมพัดพา ลมหมุนอยู่ในดวงแก้วนั้น อธิษฐานจิต วาโยกสิณัง ธาตุลมของข้าพเจ้ามีกำลัง มีเดช มีฤทธิ์  วาโยกสิณัง ธาตุลมของข้าพเจ้ามีกำลัง มีเดช มีฤทธิ์  จากนั้นเพิกภาพลมออกไป
  • กลายเป็นภายในดวงแก้วนั้น มีเปลวไฟกองไฟปรากฏลุกโชนอยู่ อธิษฐานจิต เตโชกสิณัง ธาตุไฟของข้าพเจ้ามีกำลัง มีเดช มีฤทธิ์  เตโชกสิณัง ธาตุไฟของข้าพเจ้ามีกำลัง มีเดช มีฤทธิ์  

จากนั้นตั้งจิตอธิษฐานต่อไปว่า ต่อไปขอให้ปรากฏกสิณที่เป็นวรรณกสิณ ให้ดวงแก้วนั้นภายในปรากฏเนื้อในของ

  • ดวงแก้วมีสีขาวปรากฏอยู่ กำหนดน้อมนึก วรรณกสิณว่าเป็นสีขาว จากนั้นเพิกภาพออกไป กำหนดให้เห็นภายในเป็น
  • กสิณสีแดง ข้างในเป็นสีแดงอยู่ในลูกแก้ว กำหนดจิตต่อไปว่าภายในลูกแก้วนั้น เพิกออกไปสีแดงเพิกออกไปกลายเป็น
  • สีเขียวเข้ม สีเขียวเข้มจะเป็นเรื่องเดียวกันกับนิลกสิณ เขียวเข้มจนถึงดำ กำหนดให้เป็นสีเขียวเข้ม จากนั้นเพิกภาพสีเขียวเข้มภายในดวงแก้วออกไปกลายเป็น
  • สีทองหรือสีเหลือง สีทองยิ่งเปล่งประกายมากเท่าไหร่ได้ยิ่งดีนะ จากนั้นกำหนดจิตเพิกวรรณกสิณสีทั้ง 4 นั้นออกไป

กำหนดจิตอธิษฐานให้เกิดภายในดวงแก้วนั้นกลายเป็นความว่างคือที่ว่าง

  • ลูกแก้วที่ไม่ได้เนื้อทึบ แต่ภายในนั้นมีความโปร่ง มีแค่กรอบเนื้อที่เป็นเนื้อแก้วที่เป็นกรอบ ข้างในเป็นความว่าง ที่ว่าง จากนั้นเพิกภาพที่ว่างนั้นออกไป
  • กลายเป็นภายในดวงแก้วนั้นมีความสว่างปรากฎจากภายใน เป็นอาโลกสิณ กสิณแสงสว่างเปล่งประกายจากภายใน

จากนั้นอธิษฐานจิต ขอบารมีพระท่านประสิทธิ์ประสาทรวมกสิณทั้ง 10 กองให้เป็นหนึ่งเดียว กสิณคือจิต จิตคือกสิณ กสิณธาตุทั้ง 4 ก็ดี วรรณกสิณทั้ง 4 ก็ดี กสิณที่ว่าง กสิณอาโลกสิณก็ดี ขอจงรวมเป็นหนึ่งเดียวกับจิตข้าพเจ้า จากนั้นกำหนดให้จิต ดวงจิตอันเป็นกสิณของเรานั้น ปรากฏสว่างกลายเป็นแก้วใส เป็นอุคคหนิมิตเข้าถึงอารมณ์ของกสิณ คือยิ่งใส ยิ่งสว่าง อารมณ์จิตยิ่งเป็นสุข ยิ่งรู้สึกเปี่ยมพลัง ยิ่งใส ยิ่งสว่าง ยิ่งเปี่ยมพลัง จากอุคคหนิมิตของกสิณจิต

กำหนดจิตอธิษฐานให้กลายเป็นปฏิภาคนิมิตคือกลายเป็นเพชรประกายพรึก เพชรประกายพรึกก็คือดวงแก้วนั้นกลายเป็นเพชรลูกที่เจียระไนอย่างละเอียด มีความระยิบระยับ แพรวพราว รวมถึงมีแสงสว่างเปล่งออกมาจากแกนกลางภายใน เปล่งประกายสว่างจนปรากฏมีเส้นแสง คือเส้นรัศมีเป็นเส้นเข้มข้นพุ่งออกมาโดยรอบ 360 องศา และพ้นเลยจากเส้นรัศมี เส้นแสงรัศมีที่เป็นปฏิภาคนิมิตก็ปรากฏสภาวะความเป็นทิพย์ คือบรรยากาศที่รายรอบพ้นจากเส้นแสง เส้นรัศมีปรากฏเป็นประกายกากเพชร เป็นบรรยากาศรายรอบ เป็นอาณาเขตกว้างไกลไป กำหนดจิตว่าจิตเรากลายเป็นเพชรประกายพรึก เปี่ยมพลัง เปี่ยมความสว่าง อารมณ์จิต เปี่ยมพลังความรู้สึกที่เปล่งประกายออกมาจากอำนาจแห่งกสิณ ทรงอารมณ์ ทรงสภาวะ ทรงภาพนิมิตเต็มกำลัง จากนั้นกำหนดจิต ขอให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตนั้น ลอยเข้าสู่กายของเรา คือกำหนดให้ลอยผ่านทางรูจมูก อันนี้ก็ขออนุญาตเชื่อมโยงเอาวิชาธรรมกายมาเป็นหนึ่ง ประสานกับวิชากสิณซึ่งจริงๆก็คือเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เป็นเทคนิคการฝึกการปฏิบัติ ที่มีรายละเอียดแตกต่างเสริมเพิ่มเป็นเคล็ดวิชาของแต่ละสาย ดวงกสิณค่อยๆลอยเข้า

  • ผู้ชายลอยเข้าทางรูจมูกขวา
  • ผู้หญิงลอยเข้าทางรูจมูกซ้าย

รูจมูกขวาในทางวิชาของไทยเขาเรียกว่า เป็นช่องทาง เป็นโพรงของลมหายใจ ที่เรียกว่าสุริยคาถา ทางซ้ายเรียกว่าจันทรคาถา กำหนดลอยขึ้นไป ผ่านรูจมูกขึ้นไปอยู่ที่ภายในกึ่งกลางศีรษะ แทงกั๊กตรงพอดีกับบริเวณตาที่ 3 และระหว่างเนื้อใบหูทั้งสองข้าง เหมือนเป็นกากบาทอยู่ภายในสมอง ภายในศีรษะของเรา ดวงแก้วอยู่ตรงจุดนั้นพอดี ซึ่งอันที่จริงแล้ว นั่นก็คือจุดของจักระ คราวนี้ก็เคลื่อนดวงกสิณ ดวงแก้วที่เป็นปฏิภาคนิมิต ผ่านลงมาที่คอ กำหนดจิตให้สว่างเจิดจ้าเต็มกำลัง จากนั้นดวงปฏิภาคนิมิตของกสิณจิตเคลื่อนผ่านจากคอ ลงมาที่อก กำหนดแผ่เมตตาสว่างออกไปเต็มกำลัง ให้เห็นแสงรัศมี สัมผัสถึงพลังอารมณ์จิตเป็นสุข ตำแหน่งของกสิณเคลื่อนอยู่ที่อก แผ่เมตตา การวางตำแหน่งฐานที่ตั้งของกสิณก็ดี ฐานที่ตั้งของจิต ก็คือเรื่องเดียวกัน แต่ละจุด แต่ละตำแหน่งที่ตั้ง มีผลกับการใช้งานที่ต่างกัน

กำหนดอยู่ภายในศีรษะตรงกับตาที่ 3 ก็จะใช้เรื่องญาณ เรื่องกระแสจิต ใช้ที่คอก็เป็นการกระตุ้น กระตุ้นทางด้านสุขภาพภูมิคุ้มกันร่างกาย การเปล่งพลังผ่านวาจา พอเคลื่อนลงมาที่อก ก็ใช้ตรงนี้ถ้าเป็นจักระก็เรียกว่าหทัยจักระ เอาไว้แผ่เมตตาจากหัวใจ ตอนนี้ก็ให้เราแผ่เมตตาสว่าง

จากนั้นเคลื่อนต่อไปลงไปต่ำลงมา ต่ำลงมาแต่ยังไม่ถึงฐานที่ตั้งของจิตที่เป็นตันเถียนหรือว่าใต้สะดือ อยู่ระหว่างใต้อกลงมา บริเวณตรงกับบริเวณลิ้นปี่ กำหนดจิตให้ดวงแก้วกสิณสว่าง

จากนั้นเคลื่อนต่อไป ให้ดวงแก้วกสิณลงมาที่ฐานที่ตั้งของจิต คือต่ำลงมาจากสะดือ 2 นิ้ว จุดที่เรียกว่าตันเถียน จุดที่เรียกว่าฐานที่ตั้งของจิต กำหนดจิตสว่าง กำลังฌานตั้งมั่น กำลังปราณ กำลังฌาน ผนึกเป็นหนึ่งเดียวกัน รู้สึกว่า ดวงกสิณจิตนั้นเปล่งพลังอย่างยิ่ง นิ่งหยุด ดวงแก้วกสิณอยู่ภายในท้อง สว่างเป็นเพชรระยิบระยับ พลังฌาน พลังปราณเพาะบ่มรวมตัวอยู่ นิ่งหยุดสงบ จนรู้สึกว่าจิตเราสงบตั้งฌาน จิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐานของจิต ยิ่งทรงอารมณ์นานมากเท่าไหร่ กำลังตบะแห่งฌานสมาบัติ จิตตานุภาพแห่งสมาธิจิตยิ่งเพิ่มพูนขึ้น

จากนั้นเคลื่อนต่อไปที่ปลายก้นกบ ให้ดวงจิตนั้นลงไปที่ก้นกบ จุดนี้จะเป็นตำแหน่งที่เป็นจักระที่เรียกว่าจักร จักรที่เกี่ยวข้องกับพลังงานผลักดันทางเพศ ถึงเวลาสำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรม แล้วตั้งใจที่จะตัด ตั้งใจที่จะตัดที่จะละ ที่จะบรรเทาในเรื่องของกามราคะ ถึงเวลาที่จักรนี้หรือดวงจิตนี้เคลื่อนลงไป พลังเคลื่อนลงไป ท่านก็จะดึงพลังตรงนี้เลยดึงปราณจากจุดนี้ให้ไหลเวียนผ่านไขกระดูกสันหลัง คือดวงแก้วนั้นเคลื่อนมาตามแนวกระดูกสันหลังแล้วก็มาอยู่ที่ใจกลางกระหม่อม คือเพื่อเปลี่ยนพลังที่เป็นพลังของฮอร์โมนทางเพศ ขึ้นมาที่ต่อมใต้สมอง คือเปลี่ยนฮอร์โมนเพศ ให้มาเป็นฮอร์โมนที่เรียกว่าโกรทฮอร์โมน ดังนั้นพลังตรงนี้เวลาคนที่เขาเดินลมปราณเดินพลังเดินจิต เคลื่อนเปลี่ยนพลังที่ผลักดันทางเพศ ให้มากลายเป็นพลังงานที่ทำให้เติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวก็คือโกรทฮอร์โมน ดังนั้นก็จะกลายเป็นพลังที่สามารถย้อนอายุชะลอวัยได้ ตรงนี้ก็ถือว่าเราเคลื่อนมาใช้กสิณจิต เคลื่อนครบทะลวงจักระครบทั้ง 7 จักระเรียบร้อยตอนนี้ดวงแก้วให้ลอยอยู่ข้างบนกลางกระหม่อมเหนือศีรษะสว่าง

จากนั้นกำหนดจิตต่อไป ให้ดวงแก้วที่เป็นเพชรประกายพรึกนั้นขยายใหญ่ ขยายใหญ่เมื่อขยายใหญ่แล้วก็กำหนดว่าให้ทั้งมวล ขนาด ความสว่าง พลัง ของภาพกสิณที่ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้นมันปรากฏสภาวะเพิ่มทั้งมวล ความสว่างความชัด น้ำหนัก ความรู้สึกเรายิ่งรู้สึกว่าพลังมันยิ่งเพิ่มพูนขึ้น ภาพที่เรากำหนดนั้น พลังเพิ่มพูนขึ้น มวลมีน้ำหนัก ภาพไม่ใช่เป็นภาพรวมๆ แต่มีมวล มีพลังงานอยู่พร้อมกัน เมื่อขยายใหญ่ได้แล้วก็กำหนด ว่ามีพลังงานบีบอัดเป็นพลังงานที่ค่อยๆบีบ ภาพนิมิตของกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตขนาดใหญ่นั้น บีบอัดด้วยพลังมหาศาลให้เล็กลง ในขณะที่เล็กลงมวลพลังงานความสว่างก็ยังเท่าเดิม เหมือนกับแรงอัดเหมือนกับ Pressure ที่กดดันให้ถ่านกลายเป็นเพชรฉันใด พลังงานที่บีบอัดให้ภาพนิมิตของกสิณขนาดใหญ่ ให้เล็กลง เล็กลงไปเรื่อยๆ มวลมีความหนักยิ่งยวดอย่างยิ่ง สว่างอย่างยิ่ง จนกระทั่งเล็กเหลือเพียงแค่ปลายเข็มหมุดคือป้ายเข็มเท่านั้น แต่มวลมีขนาดความหนักอย่างยิ่งยวด พลังมีความเข้มข้นอย่างยิ่งยวด

อันนี้ถึงเวลาทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ควอนตัมฟิสิกส์ก็มีการทดลอง ใช้อิเล็คตรอนวิ่งชน ในโครงการที่เรียกว่าเซิร์น (CERN) จนเกิดอนุภาคที่เรียกว่าอนุภาคของฮิต ภาษาของวิทยาศาสตร์เขาก็เรียกว่าอนุภาคของพระเจ้า คือมันสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นวัตถุ เป็นพลังงานปลดปล่อยพลังงานได้มหาศาล รวมทั้งเปลี่ยนรูปเป็นวัตถุอะไรก็ได้ อันนี้ก็คือความลับของกสิณที่เป็นอภิญญา

การฝึกย่อเล็ก ขยายใหญ่ก็คือเป็นการปรับพลังงานบีบอัดพลังงาน ถ้านึกเพียงแค่ภาพเล็กภาพใหญ่แต่ไม่ได้เข้าถึงสภาวะการบีบอัดพลังงานอย่างเข้มข้น การกลั่น การสกัด ให้การย่อและขยายใหญ่นั้นจนกลายเป็นอภิญญาจิต มันก็ไม่เกิดผล ตอนนี้เราบีบอัดจนกลายเป็นอนุภาคที่เล็ก แต่มีพลังยิ่งยวด จากนั้นกำหนดจิตว่าอนุภาคที่เล็กแต่มีพลังอย่างยิ่งยวดเป็นกสิณจิตที่เปี่ยมพลัง ค่อยๆร่วงลงทะลุผ่านกายผ่านจักระทั้งหลายลงไปอยู่ที่ตันเถียน หยุดนิ่งอยู่ที่ตันเถียน สภาวะเหมือนกับพลังงานศักย์ คือนิ่งหยุด แต่เปี่ยมพลังพร้อมที่จะเปล่งพลัง จากนั้นเราระเบิดพลังจากที่เล็กที่สุดให้ขยายใหญ่ พลังที่ขยายจากภายในรู้สึกสัมผัสได้ถึงกาย สัมผัสได้ถึงจิต อย่างที่เราไม่เคยสัมผัสได้มาก่อน ในเวลาที่ฝึกกสิณ พลังแห่งกสิณจิตตอนนี้ของเรามีพลังเต็มเปี่ยมมีอนุภาคมีพลัง

จากนั้นกำหนดสภาวะความเป็นทิพย์ระเบิด เปล่งประกายสว่างออก อธิษฐานจิตในขณะที่เราทรงอารมณ์กำลังแห่งกสิณเต็มกำลัง อธิษฐานขอให้จิตเรานี้ มีกำลังที่สามารถตัดสรรพกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ขอกำลังแห่งอภิญญาสมาบัติที่ข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าเข้าถึง ข้าพเจ้าจงใช้ในทางที่ชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรมความดี ใช้เพื่อประโยชน์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ใช้เพื่อสงเคราะห์ผู้คน ขอเป็นบารมีที่ข้าพเจ้าได้ใช้สร้างจากกำลังจิตตานุภาพ ไม่ได้ใช้เพื่อการเบียดเบียน ไม่ได้ใช้เพื่อการประทุษร้าย ไม่ได้ใช้เพื่อเป็นการสร้างบาปเวรกรรม ขอพลังของข้าพเจ้าจงมีความบริสุทธิ์ อยู่ในสัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติ ขอครูบาอาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีครูบาอาจารย์อันได้แก่พระบรมครูคือพระพุทธเจ้าสมเด็จองค์ปฐม พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอริยเจ้า พระสุปฏิปันโน พระโพธิสัตว์ เทพพรหมเทวาผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ เมตตาควบคุมดูแลสงเคราะห์อย่าให้ข้าพเจ้าหลุดไหลออกไปจากเส้นทางแห่งความดีบุญกุศลหรือทำได้

จากนั้นกำหนดจิตเห็นภาพของดวงแก้วนั้นสว่าง คราวนี้ก็ให้เราสังเกตนะ เมื่อกี้ตามที่พาฝึก พาทำ เราสัมผัสได้ไหมว่าพลังที่มันปรากฏอยู่ภายในศูนย์กลางกายก็ดี ฐานที่ตั้งของจิตหรือตันเถียนก็ดี มันเพิ่มพูนขึ้นไหม อันที่จริงเวลาฝึกย่อเล็กขยายใหญ่ ขยายใหญ่ที่สุด ต้องขยายจนใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ใหญ่กว่าดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ เวลาอัดควบแน่นก็เล็กยิ่งกว่าอะตอม เล็กจนกลายเป็นอนุภาค เล็กยิ่งกว่าปลายเข็ม แต่มีมวล มีพลังงานมหาศาล จำไว้ว่าเมื่อไหร่ก็ตาม อันนี้เป็นกฎของจักรวาล ดาวที่มีมวลสูงมากเท่าไหร่ หรือแม้มีขนาดเล็กแต่มีมวลสูง ยิ่งมีพลังแห่งแรงดึงดูดของดาวดวงนั้นสูงตามไปด้วย อันนี้มันก็เป็นกฎเดียวกันกับจิต จิตเราเมื่อบีบอัดควบแน่นจนกระทั่งเกิดพลังมหาศาล พลังจิตของเราก็เพิ่มพูนมากขึ้นเพียงนั้นด้วยเช่นกัน แต่พลังที่มันจะเปล่งประกายออกมาอย่างไม่มีประมาณได้มากที่สุดก็คือ กระแสพลังงานแห่งความเมตตา เมื่อจิตของเรานั้นกลายเป็นปฏิกรณ์แห่งพลังงาน แผ่เมตตา แผ่พลังงาน แผ่ความรัก แผ่ความปรารถนาดี แผ่คลื่นแห่งกุศลแห่งบุญออกไป อย่างไม่มีประมาณ อย่างไม่มีวันหมด

ตอนนี้ก็ให้เราเดินจิตต่อ จากกำลังแห่งจิตที่เป็นกสิณ แผ่เมตตาสว่างไป แผ่เมตตาสว่างออกไปทั่วจักรวาล ทั่วอนันตจักรวาล แผ่เมตตาไปทุกภพภูมิ ทำความรู้สึกว่าเป็นคลื่นพลังงานสีทอง กระแสของความสงบเย็น เอิบอิ่มปิติสุข คลื่นที่บุคคลใด จิตใด ภพภูมิใด สัมผัสรับแล้วก็พลอยรู้สึกสงบร่มเย็น ตัวผู้แผ่ ผู้กำหนด ผู้ส่งพลังออกไปจากเมตตา เมื่อส่งแล้วใจเราก็ยิ่งเอิบอิ่ม ยิ่งขยายใหญ่ ยิ่งรู้สึกว่าพลังเราเพิ่มพูนขึ้น เป็นพลังเป็นการแผ่เมตตาที่ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งเห็นผู้อื่นเขาสว่างขึ้น ปรับภพภูมิมีรอยยิ้ม มีความอิ่มใจสุขใจ โมทนาบุญ จิตพอเราก็ยิ่งมีพลังเพิ่มพูนขึ้น จากการที่เห็นจิตดวงอื่นเป็นสุข เมื่อเราเข้าสู่เข้าถึงสภาวะแห่งเมตตาอันไม่มีประมาณอย่างแท้จริงเมื่อไหร่ จิตเราก็จะกลับกลายเป็นผู้ที่ปรารถนาดี อยากให้โลกนี้มีแต่ความสุขสงบสันติร่มเย็น อยากให้เกิดความอุดมสมบูรณ์สันติสุขอยากให้สรรพสัตว์มีปัญญา พ้นจากการทะเลาะวิวาททำร้ายเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบกัน ดังนั้นจิตเราก็จะก้าวเข้าสู่ภูมิแห่ง ความเป็นพระโพธิสัตว์เจ้าก็ดี เข้าสู่ภูมิแห่งความเป็นพระอริยเจ้าได้ง่ายได้เร็วขึ้น การที่ใช้กำลังแห่งเมตตาอันไม่มีประมาณมาพิจารณาทุกข์ภัยในสังสารวัฏ พิจารณาแผ่เมตตาเห็นทุกข์ สลายความทุกข์ สภาวะนี้แนวทางนี้เรียกว่าเมตตาเจโตวิมุติคือจิตเราวิมุติหลุดพ้นจากกิเลส จากสังสารวัฏ ด้วยกำลังแห่งเมตตาอันไม่มีประมาณ เพราะเห็นสรรพสัตว์เป็นทุกข์ เราจึงเห็นทุกข์ของสังสารวัฏ เมื่อเห็นทุกข์ของสังสารวัฏ จิตเราจึงปรารถนาที่จะพ้นออกจากสังสารวัฏ ก็คือพระนิพพาน ดังนั้นยิ่งแผ่เมตตาแล้วเราย้อนสะท้อนกลับมาพิจารณาให้เห็นทุกข์ในสังสารวัฏ และย้อนกลับมาเมตตาในจิตตน คือเมตตาปรารถนาที่จะนำพาจิตตน พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด จิตก็สามารถบรรลุหลุดพ้นด้วยอำนาจเจโตวิมุติ

ในขณะเดียวกันสำหรับบุคคลผู้ปรารถนาในพุทธภูมินิสัย บางครั้งบางคนบางดวงจิต ปรารถนาเป็นพุทธภูมิเพราะหวังคิดว่าการเป็นพระพุทธเจ้านั้น เป็นหนึ่งเป็นเลิศ อยากเก่งอยากเป็นหนึ่ง อยากเลิศกว่าใคร อยากมีบุญเยอะๆอยากเป็นที่นับถือ ซึ่งตอนนี้ยังเจือไปด้วยมานะ ยังเจือไปด้วยอัตรา ตรงนี้ก็จะเป็นจุดที่ทำให้พุทธภูมิสามารถเป๋ หลุดออกจากทางกลายเป็นมิจฉาทิฐิได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่จิตของพุทธภูมิท่านนั้นเข้าถึงเมตตาอันไม่มีประมาณ เข้าใจแล้วว่าการปรารถนาพุทธภูมินั้น เป็นไปเพื่อสงเคราะห์มวลสรรพสัตว์เข้าถึงพระนิพพาน จิตของพุทธภูมิท่านนั้นก็จะเคลื่อนขึ้นสู่สภาวะของความเป็นพระโพธิสัตว์ คือจิตเมตตาเอ็นดูเกื้อกูลสรรพสัตว์ด้วยเมตตาอันยิ่ง อันไม่มีประมาณ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ยังเป็นเพียงแค่พุทธภูมิยังมีเจตจำนงเพราะว่าต้องการเป็น 1 ให้คนมายกย่อง ถึงเวลาที่ผิดเพี้ยนเป็นมิจฉาทิฐิ ก็ไม่แปลกที่จะต้องผ่านชาติภพ ที่จะต้องพยายามแสวงหาปรารถนาความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิบ้าง เป็นหนึ่งในแผ่นดินบ้าง เป็นเจ้าจักรวาลบ้าง ปรารถนาที่จะเป็นหนึ่งในสวรรค์ ก็คือหาทางหาหนทางที่ไปเกิดไปจุติเป็นพระอินทร์ เป็นท่านท้าวสหัมบดีพรหม คือเป็นหนึ่งบนพรหมโลก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ข้ามก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ ตำแหน่งความสำคัญความเป็นหนึ่งนั้น ก็จะไม่สำคัญต่อไป สำคัญเพียงแต่ว่าหน้าที่ของจิตดวงนั้นเป็นพระโพธิสัตว์ที่มั่นหมายปรารถนาให้สรรพสัตว์พ้นจากสังสารวัฏเข้าถึงพระนิพพาน ตรงนี้ก็คือทำไมถึงต้องเจริญเมตตาอันไม่มีประมาณ

ตอนนี้ก็ให้เราแผ่เมตตาทรงอารมณ์ใจ เมื่อแผ่เมตตาอันไม่มีประมาณแล้ว ตอนนี้เราก็น้อมจิต รำลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า อธิษฐานให้ปรากฏองค์พระอยู่เหนือเศียรเกล้า อยู่เหนือศีรษะของเรา สว่าง กำหนดว่าเราเข้าถึงในไตรสรณคมน์คือคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เราเป็นพุทธมามกะ เรามีพระพุทธองค์เป็นสรณะที่พึ่งอาศัยตลอดชีวิตทราบเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ทรงภาพองค์พระสว่างแจ่มใสอย่างยิ่ง

จากนั้นกำหนดจิตอธิษฐานว่านับแต่นี้ ขอให้ข้าพเจ้าเข้าถึงความดีอันลึกซึ้ง ได้พระพุทธศาสนาในทุกจุดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอให้ทุกครั้งที่ข้าพเจ้ากราบพระ ข้าพเจ้ากราบถึงพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน กราบถึงพระพุทธองค์บนพระนิพพาน นึกถึงครูบาอาจารย์ จิตถึงครูบาอาจารย์ทุกท่าน เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเข้าใจแก่นตรงจุดนี้ว่า จิตถึงพลังถึง จิตถึงพลังถึงทันที จิตถึงอทิสมานกายเราถึงทันที เราก็เชื่อมกับครูบาอาจารย์ เชื่อมกับพระพุทธองค์ เชื่อมกับพระนิพพานได้เป็นปกติ ไม่ต้องไปให้ใครเขาเชื่อมจิตให้ อันที่จริงอยู่กับความดี อยู่กับศรัทธา อยู่กับไตรสรณคมน์ อยู่กับความสิ้นวิจิกิจฉาของจิตเราเอง ยิ่งนอบน้อม ยิ่งเชื่อมโยง ครูบาอาจารย์ยิ่งเมตตา ยิ่งศรัทธายิ่งไม่มีวิจิกิจฉา ไม่สงสัยการเชื่อมต่อ การเชื่อมถึงจากจิตถึงองค์ท่าน ยิ่งเข้าถึงมั่นคง ไม่สะดุดด้วยความสงสัย ยิ่งศรัทธาตั้งมั่นเด็ดเดี่ยวไม่ท้อถอยไม่หลุด นั่นก็คือความแนบความมั่นคงในไตรสรณคมน์

ดังนั้นสุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่าง อัตตาหิ อัตโนนาโถ ทุกอย่างอยู่ที่การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนจนเป็นวสี ไม่ว่าจะเป็นการขัดเกลา หมั่นพิจารณาจนเกิดปัญญา อันนี้อยู่ที่จิตเราทั้งนั้น ความก้าวหน้าเจริญในธรรมอยู่ที่จิตเรา พระพุทธองค์ยังทรงตรัสเสมอว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก แต่คนจะปฏิบัติตามก็คือตัวเรา เราผ่านจากการที่อาจารย์พาทำพานำ แต่ถ้าเราไม่สนใจ เราทิ้งไม่ฝึกต่อ ไม่ขยัน เราก็เพียงแค่ เคยชิม เคยมีประสบการณ์ แต่ไม่ใช่สมาบัติ คือกำลังของจิตที่เราครอบครองได้ หยิบใช้การใช้งานได้เสมอ อันนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ยิ่งใช้ยิ่งฝึกยิ่งชำนาญ

คราวนี้ทรงอารมณ์นะ กำหนดว่าเราอยู่หน้าพระ อยู่หน้าพระพุทธองค์ กำหนดน้อม ขอบารมีพระพุทธองค์อธิษฐานขออยู่เบื้องหน้าสมเด็จองค์ปฐม ขอท่านเมตตาประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชา ประสิทธิ์ประสาทกระแสธรรมลงสู่กายทิพย์จิตของเรา ขอท่านเมตตาอธิษฐานให้ปรากฏไม้ครูแล้วก็เมตตาแตะที่ศีรษะกายทิพย์เราด้วยเถิด

สิ่งสำคัญนะที่อยากให้อธิษฐาน ขอให้ข้าพเจ้าเจริญรุ่งเรืองในศาสนาขององค์พระสมณโคดมพระพุทธเจ้า ขอให้ธรรมทั้งหลายของข้าพเจ้า เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์วิมุตติหมดจด เป็นไปเพื่อมรรคผลพระนิพพาน ขอธรรมะของข้าพเจ้ามีความละเอียดอ่อน ประณีตนอบน้อม ขอกระแสธรรมของข้าพเจ้าเป็นกระแสธรรมที่มุ่งลัดตัดตรงสู่มรรคผลพระนิพพาน ขอการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้าจงเป็นไปโดยที่ไม่เนินช้า ไม่อ้อมค้อม ไม่หวั่นไหว ไม่หลุดออกไป จากความเป็นสัมมาทิฏฐิ และมรรคมีองค์ 8 ด้วยเถอะ จากนั้นขอเมตตาพระพุทธองค์เมตตาทรงประสิทธิ์ประสาทยังจิตเราอีกครั้งหนึ่ง

จากนั้นตั้งกำลังใจอธิษฐาน ขอให้จิตใจที่ดีงามคงอยู่ตลอดไป กำหนดความรู้สึกในความเป็นกายทิพย์สว่าง จากนั้นกราบลาพระพุทธองค์ กราบแทบเบื้องพระบาท อธิษฐานขอครูบาอาจารย์ที่ท่านเมตตาสงเคราะห์ เมตตามาปรากฏเบื้องหน้ากายทิพย์ของข้าพเจ้าด้วยเถิด เมื่อแต่ละองค์แต่ละท่านเมตตามาปรากฏ เราก็ไปกราบท่านให้ครบทุกพระองค์ กำหนดใจในขณะกราบว่า เราน้อมจิตกราบขอบพระคุณที่ท่านเมตตาสงเคราะห์ ท่านดูแลท่านคุ้มครองเราอยู่ อยู่ในกระแสข่าย กระแสญาณของครูบาอาจารย์ ผู้เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้เป็นครูบาอาจารย์ ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ บางท่านก็มีพระโพธิสัตว์เมตตามาปรากฏก็น้อมกราบ

เมื่อกราบลาเรียบร้อยแล้วก็อธิษฐานจิต พุ่งกายทิพย์กลับมาที่กายเนื้อเป็นแสงสว่าง ในขณะที่พุ่งลงมา ก็กำหนดความรู้สึกของเราว่า รู้สึกว่ากายทิพย์ชัดเจนขึ้นไหม สว่างขึ้นไหม มีพลังขึ้นไหม อันนี้เป็นผลจากการกำหนดการฝึกในกสิณ ที่มีการกลั่นจิต ขยายย่อ ขยายจนเกิดพลัง เกิดความควบแน่นของพลังของจิต อันนี้ก็ควรที่แต่ละคนพยายามไปฝึกของเราเอง ช้าๆจับความรู้สึกของพลังในขณะที่ย่อเล็กขยายใหญ่ ขยายใหญ่ก็ขยายให้ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ใหญ่กว่าดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ เล็กก็ให้เล็กจนกลายเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด เป็นอะตอมเป็นปรมาณูเป็นควอนตัม ที่เล็กที่สุด พลังมันก็ยิ่งเพิ่มพูนขึ้น อันนี้สำหรับการฝึกการปฏิบัติวันนี้ก็สมควรกับเวลา

ตอนนี้ก็ให้เรากำหนดจิต น้อมกระแสดึงพลังอาราธนากระแสพลังจากพระนิพพาน กระแสบุญกระแสกุศลจากการปฏิบัติของเรา ลงมายังโลกมนุษย์ ขอกระแสกุศลจงทรงผลให้โลกนี้เกิดความสุขสงบสันติร่มเย็น กำลังบุญกำลังปฏิบัติธรรมของเราเป็นกำลังเป็นเสาค้ำ ให้โลกนี้ผ่านพ้นภัยพิบัติ เป็นกำลังเป็นพลังงานที่มาช่วยสนับสนุนทรงเสริมให้เกิดยุคแห่งชาววิไล คนทำดีคนที่อยู่ในศีลในธรรมอาจจะมีน้อย ดังนั้นคนเหล่านี้ยิ่งมีกำลังฌาน กำลังจิต กำลังตบะ กำลังบารมีสูงเท่าไหร่ คนน้อยก็อาจจะช่วยสงเคราะห์ทำเรื่องใหญ่ได้ แต่ถ้าคนเจตนาดีอ่อนแอไม่มีกำลัง ไม่มีสมาธิ ไม่มีกำลังจิตตานุภาพ ถึงเวลา คนก็น้อยกว่าคนที่เขาทำชั่วอยู่แล้ว กำลังจิตก็น้อยอีก โอกาสที่จะมาค้ำ มาถ่วงดุลย์โลกให้เกิดความสมดุล หรือพลิกเข้าสู่ยุคชาววิไลมันก็จะช่างยากเย็น ดังนั้นนี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาจารย์พยายามผลักดันซึ่งจริงๆไม่ใช่เฉพาะอาจารย์ ตอนนี้มีคำสั่งจากข้างบน ครูบาอาจารย์หลายองค์ ท่านก็ทำหน้าที่เดียวกันคือพยายามให้ชาวธรรมพุทธบริษัท 4 จะเป็นฆราวาสก็ดี จะเป็นพระ เป็นเณรท่านก็ดี เข้าถึงกำลังจิต กำลังสมาธิ กำลังตบะที่สูงขึ้น  หลาย ท่านตรงกันได้รับคำสั่งมาให้ทางกลุ่มจัดสอนเรื่องอภิญญา มีหลายองค์นะ ในกลุ่มเราก็ไปเรียนทุกกลุ่มก็มี อันนี้ก็ดีแล้วไม่เป็นไรต่อยอดกันไป

แต่นี้คือสิ่งที่ให้เราเข้าใจเจตนารมณ์ เข้าใจความสำคัญก่อน ว่าทำไมต้องขยัน ทำไมต้องฝึก ทำไมปฏิบัติแล้วเราจำเป็นจะต้องดึงพลังจากการปฏิบัติ รวมกระแสจากการปฏิบัติมาช่วยโลก มาช่วยประเทศชาติ มาช่วยพระศาสนา มาช่วยสถาบัน ตอนนี้ก็ให้เราน้อมกระแสลงมานะ จิตเข้าใจในเจตจำนง ตรงนี้ก็ถือว่าเรามีกำลังใจเพื่อปฏิปทาสาธารณประโยชน์ มีกำลังใจฝึกฝนปฏิบัติพัฒนาตัวเองเพื่อมาเป็นกำลัง เพื่อส่วนรวมก็จะยิ่งเป็นบารมี เป็นกำลังใจที่สูงกว่าคนที่เขาปฏิบัติจำเพาะเพียงแค่ตน เราทำเช่นนี้ได้ ก็เป็นคุณประโยชน์

เมื่อน้อมกระแสลงมาแล้ว ก็อธิษฐานจิต ขอกระแสพระนิพพาน กระแสบุญฟอกธาตุขันธ์ เป็นลำแสงขนาดใหญ่ แก้ว เพชร อันเกิดขึ้นจากกำลังตบะของกสิณจิต ชำระล้างฟอกธาตุขันธ์ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กลายเป็นแก้วใส โครงกระดูกเป็นแก้วใส ชำระล้างทำความสะอาดหลอดเลือด สะอาดไม่มีอะไรอุดตัน เส้นเอ็น เส้นลมปราณ ราบรื่นปลอดโปร่ง อวัยวะภายในทุกส่วนสะอาด มีพลังชี่ พลังปราณ พลังชีวิต พลังบุญกุศล ธาตุธรรมหล่อเลี้ยงธาตุขันธ์ ตรงนี้ก็ถือว่าเอากำลังของตบะของสมาธิ มาดูแลสุขภาพของเราเอง

จากนั้นก็อธิษฐานโมทนาสาธุกับกัลยาณมิตรทุกคนที่ปฏิบัติที่เจริญจิตตภาวนาที่ทำคุณประโยชน์ให้ส่วนรวมที่อธิษฐานจิตดึงพลังมาช่วยชาติบ้านเมือง ขอบุญจงปรากฏ ขอบุญจงทรงผลและก็เมตตากับตัวเราเอง ขอให้บุญเป็นเกราะแก้วคุ้มครองรักษาเราทุกคนทั้งกายวาจาใจ ขอให้เรามีแต่ความสุขความเจริญ สายบุญสายทรัพย์สายสมบัติหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย ตราบที่เรายังมีชีวิตจนเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ขอความเจริญรุ่งเรืองในธรรมจงปรากฏขึ้นกับเรา ขอรอบกายเรามีแต่กัลยาณมิตรผู้ที่มีจิตปรารถนาดีต่อเรา เมื่อโมทนาสาธุแล้วตั้งจิตให้พรกับตัวเราเองแล้ว อันนี้ก็ฝากข่าวขอเตือนว่าช่วยกันเขียนแผ่นทองอธิษฐานสร้างพระกันด้วย อธิษฐานยกจิตขึ้นไปบนพระนิพพานแล้วก็เขียนแผ่นทองและอีกเรื่องนึงก็คือวันที่ 21 กรกฎาคมก็เดี๋ยวจะมี โครงการที่จะเรียนสมาธิกัน ตอนนี้ก็ยังอยู่ในช่วงหาสถานที่มีการเปลี่ยนสถานที่นิดนึง ก็พยายามไปเรียนไปฝึก ไปเจอตัวยิ่งรับพลังรับกระแสได้มากกว่า สำหรับวันนี้ก็ขอโมทนาบุญกับทุกคน สัปดาห์หน้าคาดว่าอาจารย์จะไม่อยู่ เนื่องจากต้องเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และก็น่าจะไม่ได้สอน ถ้าเป็นไปได้ก็พยายามฝึกตามที่สอนในวันนี้ สำหรับวันนี้ก็ขอสวัสดีกับทุกคนพบกันใหม่ครั้งหน้าในโอกาสในวาระต่อไปสวัสดี

ถอดเสียงและเรียบเรียง โดย คุณ Wannapa

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหานี้ได้