green and brown plant on water

เข้าใจการปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องและรวดเร็ว

เวลาอ่าน : 11 นาที

เสียงธรรมจากห้อง “เมตตาภิรมณ์กรรมฐาน”

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม  2566

“เข้าใจการปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องและรวดเร็ว”

ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬา ฯ

 โดย อาจารย์ คณานันท์  ทวีโภค

           สวัสดีครับ ระหว่างที่รอเพื่อนๆ ผมขอเล่าประสบการณ์การไปถ้ำวัวแดงให้ฟังก่อนนะครับ การเดินทางครั้งนั้นพอขึ้นไปถึงแค่เชิงเขาช่วงที่ 1 ไปถึงก็จะเป็นลม ในใจก็คิดว่า ตายเป็นตาย ตอนนั้นยังตัวใหญ่กว่านี้เยอะ ตายเป็นตาย ตัดสินใจแล้ว จำได้ว่าเหตุผลที่ขึ้นไปถ้ำวัวแดง เพราะว่าพระท่านบอกไปฝึกอภิญญาใหญ่ เดี๋ยวจะเกิดภัยพิบัติแล้ว เราฝึกอภิญญาใหญ่ เราจะได้มาช่วยคนในช่วงภัยพิบัติ ความคิดที่เราตั้งใจจะช่วยคน ก็เลยทำให้เราคิดแบบตายเป็นตาย ขึ้นไป พอตั้งสติ พัก จนกระทั่งมีเรี่ยวมีแรงก็เดินขึ้นถ้ำวัวแดง สมัยนั้นยังไม่มีบันได เป็นทางป่าล้วนๆมีบันไดไม้ผุพังหน่อย มีบางท่านที่เคยไปถ้ำวัวแดงกับผมในช่วงหลัง ช่วงนั้นก็ยังไม่มีบันได มีมาร่วมฟังกันนี้ด้วย พอขึ้นไปถึงปรากฏว่าพระที่บนถ้ำก็บอกว่ารออยู่พอดีเลย ลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำใช่ไหม ท่านก็รู้ด้วยแล้ว หลังจากนั้นก็เลยขึ้นไปปฏิบัติอยู่ถ้ำวัวแดงเป็นเวลานานเหมือนกัน ช่วงที่อยู่บนถ้ำวัวแดงก็อยู่ในป่าอยู่ในถ้ำ เหมือนธุดงค์อยู่ เพียงแต่ว่าเป็นฆราวาส ตอนนั้นเป็นฆราวาส แล้วก็ช่วงก่อนจะได้ธรรมะจากที่ถ้ำวัวแดง ช่วงนั้นก็บังเอิญมีเหตุการณ์หนึ่งที่ถ้ำวัวแดงก็คือ มีถ้ำๆหนึ่งเปิดขึ้น ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำมรณะ คืออยู่ๆมีวันหนึ่งที่เกิดเสียงครืนเหมือนแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คำรามลั่นแล้วก็มีถ้ำเปิดขึ้น วาระผมก็ไปฝึกปฏิบัติในถ้ำนั้น ในระหว่างที่ไปสำรวจถ้ำ แล้วก็มีเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมที่ขึ้นไปด้วยกัน ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหยก ตอนนั้นบอกไม่เอา เราจะเอาธรรมะ สมบัติไม่เอา แล้วก็ปล่อยอยู่อย่างนั้น ฝึกวิชาในถ้ำหยกถึงเวลาท่านก็สั่งให้ฝึกนะ ฝึกวิชาในถ้ำหยก ก็ฝึกจนกระทั่งได้กรรมฐาน 40 กองในถ้ำหยก เหมือนหนังกำลังภายใน เล่าแค่นี้พอแล้วนะ พอสังเขปเหตุการณ์มันพาไป พร้อมฝึกหรือยัง เริ่มปฏิบัติหรือยัง สบายๆก่อน ทำตัวสบายๆก่อน

           เริ่มต้นสิ่งแรกเลยนะครับ ผมจะเริ่มปูพื้นฐานเบสิค แล้วก็อธิบายข้อที่เราแต่ละคนอาจจะมีข้อติดขัดกันอยู่ในการปฏิบัติในทุกเรื่อง สิ่งแรกเลยก่อนที่จะปฏิบัติบางครั้งบางคน มีใครเพิ่งคิดจะมาปฏิบัติธรรมครั้งแรกบ้าง มีใครที่ปฏิบัติธรรม เริ่มปฏิบัติแล้วมีอุปสรรคบ้าง วิธีการข้อแรกคือขอขมาพระรัตนตรัยก่อนเลย บางคนที่ติดขัดเพราะว่าเคยปรามาสพระรัตนตรัยมาก่อน หรือเคยปรามาสคนที่เขาปฏิบัติธรรมมาก่อน เคยปรามาสพระอริยเจ้ามาก่อนอันนี้คือข้อที่ 1 ขอขมาก่อน ตั้งจิตก่อน ตั้งจิตนึกถึงนึกภาพพระพุทธรูป นึกถึงพระพุทธเจ้า ตั้งจิต        

           นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

              นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

              นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

              สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง

              สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

ตั้งจิตว่าเราขอกราบขมาลาโทษ นอบน้อม กราบขออภัยต่อพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มีพ่อแม่ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ องค์พระมหากษัตริย์ รวมถึงเทพพรหมเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ในสิ่งที่ข้าพเจ้าประมาทพลาดพลั้ง ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือว่าจิตใจนึกคิดก็ตาม สิ่งใดที่เคยประมาทพลาดพลั้งไปแล้ว ข้าพเจ้าขอน้อมสำนึก ขอกราบขมา ขอสำนึกผิดจากส่วนลึกของจิตใจ ขอโทษภัยทั้งหลาย จงเป็นอโหสิกรรม จงเป็นโมฆะกรรมไม่มีโทษมีภัย ไม่มีบาปเวรต่อกัน ไม่มีอุปสรรคใดๆในการปฏิบัติ และการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้านี้ ขอจงเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพานในที่สุด ขอธรรมทั้งหลายที่ข้าพเจ้าปฏิบัติจงมุ่งลัดตัดตรงสู่มรรคผลพระนิพพาน ขอธรรมทั้งหลาย การปฏิบัติจงเป็นธรรมที่ไม่เนิ่นช้า พบเจอแต่ครูบาอาจารย์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติตรงสู่มรรคผลพระนิพพานด้วยเถิด เรียบร้อยแล้วนะ ทำใจสบายๆ เบาขึ้นไหม จิตเบาขึ้นนะทุกคน

           คราวนี้เราปฏิบัติต่อไป ทำใจสบายๆ เริ่มทำความเข้าใจก่อน การที่ผมสอนมีหลายครั้งที่สอนสมาธิแล้วเราค้นพบว่าในการสอนสมาธิ 1 ครั้ง ทำไมมีคนได้สมาธิและไม่ได้สมาธิ เราเคยสงสัยไหม ตรงจุดนี้ด้วยความสงสัย เราก็ใช้ปัญญาพิจารณา ใช้ญาณเครื่องรู้ ใช้เจโตปริยญาณดูจิต ปรากฏการณ์เกิดขึ้นในช่วงที่ผมสอนที่วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนั้นก็บังเอิญเป็นกลุ่มย่อย สอนที่วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ กับวิหารใหญ่ วิหารหลวงในวัดสวนดอก ตอนนั้นลูกศิษย์ก็มี 10 กว่าคนบ้าง คนเชียงใหม่เข้ามากันหลายคน ตอนนั้นบางคนได้ บางคนก็ไม่ได้ เราก็ดูว่าเราสอนทั้งที เราขี้เกียจสอนแล้ว ไม่ได้ผล สอนทำไมเหนื่อย เหนี่อยใคร เหนื่อยอาจารย์ ดังนั้นเราสอนเรามุ่งหวังประโยชน์ของผู้เรียน วิธีการทำยังไง เราก็ดูเจโตปริยญาณ สุดท้ายเราเจอว่า

           หนึ่ง บางคนที่มาเรียน คนที่ได้คือคนที่น้อมจิตตาม ใครเข้าใจคำว่าน้อมจิตตาม ทำได้นะ  น้อมจิตตามก็คือ เวลาที่อาจารย์สอน อาจารย์แนะนำก็น้อมจิตตามตลอด พิจารณาตามตลอดไม่ให้หลุด อันนี้คือคนที่ได้เต็มๆ คราวนี้บุคคลบางคนก็ตามได้บ้าง ตามไม่ได้บ้าง อันคิดว่าได้ไหมก็ไม่ได้ บางคนอาจารย์สอนไปคิดเรื่องนั้น ไปกังวลเรื่องนี้ ไปคิดเรื่องที่บ้าน ห่วงบ้าน ห่วงลูก ไปห่วงว่าปิดไฟหรือยังปิดน้ำหรือยัง มีไหม หรือเคยเป็นไหม มัวไปคิด มัวเป็นกังวลเรื่องอื่น หรือบางทีบางครั้งมากับเพื่อน พาเพื่อนมาด้วย เราฝึกสมาธิอยู่ แต่ไปกังวลกับเพื่อน แต่กังวลกับลูก มีไหม อันนี้ก็จะไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มาปฏิบัติจำไว้ว่า เราอยู่กับจิตของเรา และตามน้อมจิตตามครูบาอาจารย์ที่สอนตลอด เรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะกับเวลาที่มาเรียนกับผม เวลาที่ฟังธรรมกับครูบาอาจารย์องค์ไหนก็ตาม หรืออ่านหนังสือธรรมะก็ตาม น้อมจิตตามตลอด จี้ตามตลอด

           อีกประเภทหนึ่งที่ไม่ได้ก็คือน้ำล้นแก้ว ฟังธรรมะมาเคยฟังแล้ว เคยเรียนแล้ว เคยฟังจากองค์นั้นแล้ว เคยฟังจากองค์นี้แล้ว พอจิตมีความค้านในลักษณะของฉันน้ำเต็มแก้ว รู้หมดแล้ว ก็ไม่ได้อะไร อันนี้คือเพื่อให้เราปรับจิตของเรา เพื่อเป็นภาชนะอันคู่ควรกับการรับฟังธรรม ตรงนี้เข้าใจนะ น้อมจิตตาม เต็มแก้วก็ไม่เอา จำไว้ว่าเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าเราฟังธรรมนี้แล้ว รู้แล้ว มองว่าเป็นการย้ำความเข้าใจ บางครั้งการที่เราฟังซ้ำ เป็นการทั้งย้ำ และทำให้เราเข้าใจในข้อปลีกย่อยในธรรมะที่ละเอียด บางครั้งหนังสือเล่มเดียวกัน เราอ่านครั้งแรกเราก็ใจส่วนหนึ่ง พอมาอ่านครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เรารู้สึกว่าเราเข้าใจลึกซึ้งขึ้นละเอียดขึ้นจริงไหม ดังนั้นจงมองประโยชน์ของการที่ฟังซ้ำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งละเอียดขึ้น เวลาสอนผมจะเน้นว่าพิจารณาแล้ว เราต้องไตร่ตรองเข้าใจเห็นจริงในธรรมะที่เราฟัง ที่เราปฏิบัติ อันนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นหลักที่ถูกต้องในการใช้ปัญญาตามหลักกาลามสูตร นั่นก็คือพิจารณาแล้วเห็นจริงด้วยตัวเอง ไม่ใช่ว่าอาจารย์บอกแบบนี้ หนังสือบอกแบบนี้ คัมภีร์บอกแบบนี้ พระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่าแม้แต่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส ก็อย่าเพิ่งเชื่อ จงพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญจนกระทั่งจิตเราเห็นจริงตามสิ่งที่เราฟัง เราจึงเชื่อ ดังนั้นเราจงทำภาชนะให้คู่ควร คือน้อมจิตตามตลอดได้ไหม ตั้งใจของเรา ตอนนี้ก่อนเลยนะว่า เราจะน้อมจิตตามตลอดการเรียนการปฏิบัติทั้ง 3 ชั่วโมงนี้ ไม่ให้จิตคลาดไปจากธรรมที่อาจารย์ถ่ายทอดแบ่งปันให้เรา ใจสบายๆ อันนี้ข้อที่หนึ่ง เตรียมจิต

           ข้อต่อมา อันนี้ผมปูพื้นฐานไล่หมดเลยนะ สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งก่อนที่จะฝึกสมาธิหรือปฏิบัติ ถ้าเราปล่อยวางความกังวล ในภาษาธรรมเรียกว่าปลิโพธ ความกังวลที่ว่านั่นก็คือ ความรู้สึกที่เราห่วงบุคคลอื่น ห่วงร่างกาย ห่วงเรื่องนั้น ห่วงเรื่องนี้ ถ้าเราตัดห่วงพวกนี้ไปได้ จิตเราจะรวมเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น แต่มีวิธีมีเคล็ดลับที่มันรัดกว่าเร็วกว่า นั่นก็คือตัดตั้งแต่กาย อันนี้เป็นเทคนิคเฉพาะของเมตตาสมาธินะ เดี๋ยวให้เราลองฝึกดู ตอนนี้ให้เราลองฝึก

เกร็งร่างกายก่อน เกร็งร่างกาย กำมือ เกร็งร่างกาย เกร็งแขนเกร็งขา เกร็งทั่วร่างกาย ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้สึกถึงกล้ามเนื้อทุกส่วน แล้วเกร็ง พุทโธ ธัมโม สังโฆ คลาย คลายให้สุดนะ จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อทุกส่วนสบาย ผ่อนคลาย

เกร็งร่างกายครั้งที่ 2 เกร็งร่างกาย เกร็งกล้ามเนื้อ เกร็งแขน ขา อก ลำตัว น่อง แขน ขา ทั่วร่างกาย ผ่อนคลาย คลายให้หมด คลายให้สุด ปล่อยวางให้หมด

เกร็งร่างกายครั้งที่ 3  เกร็งนิดหน่อยพอ เกร็งแขน ขา ทั่วลำตัว เกร็งให้หมด เกร็งให้มากที่สุด ผ่อนคลาย

           จากนั้นกำหนดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วร่างกาย รู้สึกถึงกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย กายทั้งกายของเรานั้นปล่อยวาง กำหนด อันนี้ฝึกเป็นเทคนิค เมื่อไรที่เราผ่อนคลายทั่วร่างกาย เราปล่อยวางตัดร่างกายขันธ์ 5 เราปล่อยวางความกังวลในจิตใจเราออกไปจนหมด คราวนี้หลับตาจดจ่ออยู่กับความเบาความผ่อนคลายนั้น ตัดกาย ตัดความรู้สึก ที่ไปสนใจจดจ่อกับกาย อยู่กับลมหายใจสบายๆ อยู่กับความสงบ อยู่กับลมหายใจ เมื่อลมหายใจที่เรียกว่าลมสบายปรากฏ เรากำหนดรู้ต่อไปว่าใจของเรามีความเบาไหม มีความสบาย ความสบายที่ว่านี้ ความสุขคือความสุขจากความสงบ จดจ่ออยู่กับลมหายใจ จดจ่ออยู่กับอารมณ์ใจ ความเบาสบายของลมหายใจคือความสงบ จดจ่ออยู่กับความสงบ ความสบาย ไม่ต้องไปสนใจสิ่งใด ใจสบาย ใจผ่องใส คราวนี้ค่อยๆลืมตาขึ้นช้าๆสบายๆ เป็นไงบ้าง จิตสงบไหมครับ อันนี้เพิ่งออเดิร์ฟ สบายไหม เอาเทคนิคนี้ไปใช้ไหม คือจริงๆคือทางลัดในการตัดขันธ์ 5 ด้วยนะ สำหรับคนที่จะก้าวเข้าสู่ขั้นของวิปัสสนาญาณ คือเริ่มเข้าสู่ที่นั่งปุ๊บ ผ่อนคลายทั่วร่าง ปล่อยวางร่างกายทิ้งกายทิ้งขันธ์ 5 เข้ามาอยู่กับความสงบของจิต เข้าสู่สมาธิ ดังนั้นถ้าเกิดใช้เทคนิคร่วมอย่างถูกวิธี เราจะเดินจิตเข้าสู่ฌานสมาบัติขั้นสูงได้เร็วได้ง่าย อยากมาเอาเคล็ดลับนี้ใช่ไหม ถึงมาฝึกกัน งั้นเรียนต่อไป

           คราวนี้เรามาทำความเข้าใจ บอกแล้วจะปูพื้นตั้งแต่ 1 นับ 1  คราวนี้สิ่งต่อมาที่เราต้องรู้คือคำว่าสมาธิหรือการปฏิบัติธรรม การฝึกสมาธิ การปฏิบัติธรรม แบ่งเป็น 2 ส่วน ทุกคนเคยได้ยินหมดแล้ว ส่วนแรกก็คือสมถะ ส่วนที่ 2 คือวิปัสสนา ถามว่าสมถะและวิปัสสนานี้จริงๆแยกกันไหม เราคิดว่าแยกกันไหม จริงๆไม่แยก ข้อเท็จจริงของการปฏิบัติทั้งหมด การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงทุกอย่าง สุดท้ายประสานรวมเป็นหนึ่งทั้งหมด รวมเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นหนึ่งทั้งหมด สมถะและวิปัสสนาท้ายที่สุดรวมกัน สมถะคือการฝึกจิต ฝึกสมาธิให้จิตเกิดจิตตานุภาพ คือเกิดกำลังของจิต สมถะนั้น ในการฝึกประกอบไปด้วย 1. การได้ฌาน คือ ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 จากอานาปานสติกรรมฐาน ก็คือการกำหนดในลมหายใจ เดี๋ยวจะไล่ละเอียดให้ฟังนะ ต่อมาก็คือการได้ฌานจากการทรงกสิณจิต ทรงกสิณทั้ง 10 กองกสิณเคยได้ยินไหม คนไหนไม่เคยได้ยินกสิณ เคยได้ยินไหม กสิณไม่ว่าจะวิชาธรรมกาย ไม่ว่าจะเป็นวิชามโนมยิทธิ มีบาทฐาน พื้นฐานมาจากกสิณด้วยกันทั้งสิ้น กสินเป็นบาทฐานแห่งการได้อภิญญาสมาบัติ การได้อภิญญาใหญ่ คราวนี้ต่อมา จากกสิณแล้วเป็นอะไร สมถะขั้นสูงสุดก็คือสมาบัติ 8 สมาบัติ 8 ก็คืออรูปฌาน อรูปฌานอีก 4 กอง  ทั้งหมดนี้คืออยู่ในหมวดหมู่ของสมถะ นี้เข้าใจนะ สมถะมีเพื่ออะไร สมถะมีเพื่อให้จิตเราเกิดจิตตานุภาพ แล้วเอากำลังของจิตตานุภาพนี้มาตัดกิเลส ตัดกิเลสคราวนี้ใช้อะไร เราใช้อะไรตัดกิเลส วิปัสสนา  วิปัสสนาที่ว่าก็คือใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญในธรรมะเพื่อขัดเกลาให้กิเลสคือความโลภ  โกรธ หลง มันบรรเทาเบาบางลงไป และการที่เราใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ พิจารณาในข้อของการตัดสังโยชน์ 10 ประการ ใครไม่เคยได้ยินคำว่าสังโยชน์ 10 บ้าง สังโยชน์ 10 ความสำคัญก็คือเป็นเครื่องวัดความเป็นพระอริยเจ้า เป็นมากกว่าที่เราใช้เทียบเคียง ทำความเข้าใจในเรื่องของการเป็นพระอริยเจ้า ความเป็นพระอริยเจ้าคือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 :-

           พระโสดาปัตติมรรค          พระโสดาปัตติผล

           พระสกิทาคามีมรรค          พระสกิทาคามีผล

           พระอนาคามีมรรค            พระอนาคามีผล

           พระอรหัตมรรค               พระอรหัตผล

           พระนิพพาน

ซึ่งขอบเขตจะมีแบบนี้ อันนี้คือทำความเข้าใจพื้นฐานตั้งแต่ 1 ความเป็นพระอริยเจ้านั้น เหตุที่บอกว่านำสังโยชน์มาวัดก็คือ สังโยชน์มี 10 ประการ บางข้อผมอาจจะสลับอยู่บ้าง แต่สิ่งสำคัญก็คือพระอริยเจ้าเบื้องต้นคือความเป็นพระโสดาบันคือ ตัดสังโยชน์ 3 ประการ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ

              สักกายทิฏฐิ อารมณ์ก็คือคิดเสมอว่าเรามีความตาย ยังไงเราตายแน่นอน ในห้องนี้มีใครรู้ว่าฉันอมตะแน่นอน มีใครคิดอย่างนั้นบ้าง แต่คราวนี้สิ่งที่พิจารณาต่อสำหรับผู้ที่คิดในความปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าก็คือ คิดว่าตายแล้ว คำถามต่อมาเป็นคำถามสำคัญ ตายแล้วเราจะไปไหน ทุกคนบนโลกเคยคิด แต่หาคำตอบได้หรือไม่ได้ ตายแล้วจะไปไหน ใครคิดบ้างว่าตายแล้วฉันจะไม่เกิด ยกมือสูงๆ เยอะนะ สาธุ ตายแล้วฉันไม่เกิด เบื่อละ เดี๋ยวพิจารณาต่อนะ แต่คน 99.99% บนโลกเมื่อคิดถึงมัน ยังไงรู้ว่าตัวเองตายแน่ แต่ไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปไหน จริงไหม ทำไมเราจะตายไปไหน ตายแล้วจะเป็นยังไง ตายแล้วจะเจอคนที่เรารัก เจอลูกหลานอีกหรือเปล่า ตายแล้วเราจะมีสมบัติร่ำรวย เหมือนชาตินี้ไหม มันมีแต่ความสงสัย ตัวนี้อวิชชา รู้ว่าตายแต่ไม่รู้ว่าตายแล้วเราจะไปไหน นี่คือเหตุผลที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่าการปฏิบัติธรรมนั้น อานิสงส์มีสูงมาก อานิสงส์ที่สูงที่ว่าก็คือ ทำให้เราสามารถกำหนดการตายของเราได้ ว่าตายแล้วเราอยากไปไหน ใครเคยเข้าใจหรือมีความรู้เรื่องจิตสุดท้ายก่อนตาย เคยได้ยินไหม

           จิตเราอยู่กับอารมณ์ใด จิตสุดท้ายก่อนตายก็เหมือนโคที่อยู่ปากประตูคอก ถ้าอารมณ์จิตเราอยู่ในกุศลในทางที่เราเคยทำ เราเคยไปหล่อพระ เคยไปสร้างพระพุทธรูป ใจเราก็เกาะอยู่กับบุญ ถึงเวลาตายไปในขณะจิตนั้น เราไปไหน ไปไหนได้บ้าง ไปสุคติภูมิแน่ๆ ไปชั้นดาวดึงส์ก็ได้ ตายไปในขณะที่เราสวดมนต์ ตายแล้วไปไหนดี ไปสวรรค์ชั้นยามาก็ได้ ถ้าการสวดมนต์เราเข้าลึกของสมาธิในระดับฌานก็ไปพรหมได้  อันนี้คือจิตสุดท้ายก่อนตาย แต่ถ้าจิตสุดท้ายก่อนตายมีแต่นิมิตเห็นเปลวไฟ เห็นกรรมเก่าที่เคยทำ เคยฆ่าสัตว์ ฆ่าวัว ฆ่าควายมา ยังงี้เป็นยังไงบ้าง ท่าทางไปไม่ดีแน่ นิมิตสุดท้าย จิตสุดท้ายก่อนตาย แต่คราวนี้บางคนบอกว่า ไม่เป็นไร เดี๋ยวก่อนตายค่อยนึก คิดว่าจะทันไหม นั่นแหละคือความประมาท ที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้ในปัจฉิมโอวาท ประมาทไป ก่อนตายค่อยคิด ปรากฏว่าความชินคืออารมณ์ที่เราชินในการนึก นึกแต่โลภ เอาของคนอื่น กอบโกยตลอดเวลา ถึงเวลาก่อนตายฉันค่อยนึกถึงสวรรค์ คิดว่านึกทันไหม นึกไม่ทันนะ บางทีก็มีภาพเจ้ากรรมนายเวรมาทวงมาเอา ดังนั้นมันไม่ทัน แต่คนที่ฝึกสมาธิ เราฝึกให้ชินอยู่กับอารมณ์ของกุศล ยิ่งทรงในอารมณ์ที่เป็นกุศลมากเท่าไหร่นานเท่าไหร่ จิตก็เกาะจิตก็จำ จิตมีสภาพจำ จำอารมณ์ จริงๆกรรมฐานเนี่ยเคล็ดลับจำไว้เลยนะ เคล็ดลับคือจำอารมณ์ใจ สมาธิคือการจำอารมณ์ใจ จำอารมณ์จิต จำอารมณ์นี้ได้ จำอารมณ์ผ่องใสได้ จำอารมณ์ความสงบเป็นสุขของสมาธิได้ จำอารมณ์พระนิพพานได้ จำอารมณ์เมตตาได้ ก็เข้าไปจุดนั้นได้เลย อันนี้จะเป็นเคล็ดลับของการเข้าถึง การเข้าฌาน หรือเข้าอารมณ์สมาธิอย่างรวดเร็วเพียงแค่ลัดมือเดียว คือปึ๊บจำอารมณ์ได้ เราก็ไปถึงเลย เช่นตอนนี้เราจำภาพบ้านเราได้ไหม นึกถึงว่าเห็นตัวเราปึ๊บไปยืนอยู่หน้าบ้านเลย มันก็เป็นสภาพจำ จิตมันเคลื่อนไปด้วยความรู้สึก ตรงนี้ได้นะ นึกถึงภาพพระพุทธรูปวัดไหนก็ตาม ที่เราเคารพรัก บางคนสายหลวงพ่อฤาษี ก็กำหนดจิตไปถึงหน้าวิหารในวิหารสมเด็จองค์ปฐม เข้าไปปึ๊บเห็นตัวเรากำลังนั่งอยู่หน้าพระเลยได้ไหม นั่นก็คือจิตเราไปแล้ว นั่นก็อยู่กับพระ ทำได้ไหม ดังนั้นจำไว้นะ จำอารมณ์ สมาธิคือการจำอารมณ์ จำอารมณ์พระกรรมฐานได้ก็เข้าได้ ดังนั้นจากการปฏิบัติ จากการสอนหลายๆครั้ง ผมพบว่ามีบางคนเคยมีประสบการณ์เข้าสู่ฌานลึกละเอียด เข้าได้ดีมาก อาจารย์ ผมเข้าอารมณ์นี้ดีมาก แล้วถามต่อไป แล้วทำได้อีกไหม ทำไม่ได้ครับทำได้หนเดียวในชีวิต แล้วก็จบ แต่ที่จริงการปฏิบัติก็คือเราต้องฝึกจนกระทั่งเราสามารถเข้าสู่อารมณ์จิตที่เราต้องการได้ ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบท ที่เราต้องการให้ได้ เราต้องหาแก่นว่า สิ่งที่เราควรจะต้องได้ ควรจะต้องมีอะไร พิจารณาดูแล้วจริงนะ  เข้าได้ตลอด ผ่องใสทรงอารมณ์สูงสุด เต็มกำลังได้ตลอดอย่างนั้นดีกว่าไหม ดีกว่านะ อันนี้ทำความเข้าใจแล้วนะ คราวนี้มาครอบคลุมในเรื่องของสังโยชน์ สักกายทิฏฐิเราเข้าใจ ตายแล้วไปไหน ถ้าปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน ตั้งใจอย่างเดียวไม่ประมาทในความตาย ตั้งใจตั้งมั่นว่าตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพานเท่านั้น อันนี้ข้อที่ 1 สักกายทิฏฐิ

           ข้อที่ 2 วิจิกิจฉา เรามีความลังเลสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าไหม อันนี้จะครอบคลุมในเรื่องของสัมมาทิฏฐิ เชื่อกรรมไหม กรรม กฎของกรรมเราเชื่อไหม สวรรค์ นรก ไตรภูมิเชื่อไหม เพราะสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆในเรื่องของมรรคผลพระนิพพาน ถ้าไม่เชื่อว่าภพภูมิต่างๆ สวรรค์ นรกมีจริง ก็แปลว่าไม่จำเป็นต้องไปพระนิพพาน มันจะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิทันที เหตุผลที่เราไปพระนิพพานเพื่อการไม่เกิดอีก เพราะตราบที่ยังมีการเกิด ทำให้เราต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เราบอกว่าเราเป็นมนุษย์ตอนนี้ก็สบายดีอยู่แล้ว แต่ความจริงความเป็นมนุษย์มันเที่ยงไหม เที่ยงหมายความว่ามันเป็นมนุษย์อย่างนี้เหมือนเดิมไหม เกิดมาชาติหน้าก็ชื่อนี้ หน้าตาอย่างนี้ มีรูปแบบนี้ มีสามีแบบนี้ มีภรรยาแบบนี้ ใช่ไหม มันมีขึ้นมีลงนะ บางชาติเกิดเป็นเศรษฐี บางชาติเกิดเป็นยาจก เผลอๆบางชาติรักแมวมาก เผลอไปเกิดเป็นแมวก็มี ถามว่ามีไหม ถ้าใครเคยอ่านหนังสือรุ่นเก่าๆ หูตั้งคือใคร นายพลยังไปเกิดเป็นสุนัขได้ หรือล่าสุดที่มีก็คือแมวมาเกิดเป็นลูกของเจ้าของ เกิดเป็นคนได้ ดังนั้นเรื่องของภพภูมิมีเปลี่ยนแปลงตลอด มันเลยเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะเราไปยึดมั่นถือมั่น  นี่ก็คือเรื่องของสัมมาทิฏฐิ คือเรื่องของวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ตรงนี้ต้องไปค่อยๆปรับทิฏฐิไปทำความเข้าใจให้มีความละเอียด มีความเข้าใจในเรื่องของไตรภูมิ มีความเข้าใจในเรื่องกรรมและกฎของกรรม

           ข้อที่ 3 สีลัพพตปรามาส สีลัพพตปรามาส ก็คือถ้าจะเข้าความเป็นพระพุทธเจ้านี้ ต้องศีล ถ้าเป็นโยม ศีล 5 ต้องบริสุทธิ์ ศีล 5 ต้องบริสุทธิ์ ใครมั่นใจว่าศีล 5 บริสุทธิ์มั้ง สาธุสาธุครับ สาธุทุกคน ที่ตั้งใจนะ ศีล 5 บริสุทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นศีลที่เกิดจากข้างใน คือเป็นศีลจากพรหมวิหาร 4 อารมณ์จิตของศีล 5 คือตั้งจิตว่าเราเป็นผู้ที่ไม่เบียดเบียนใคร ได้ไหม ไม่ทำร้าย ไม่เบียดเบียน ไม่เบียดเบียนก็คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดจาโกหก ไม่ดื่มสุราทำลายสติของตัวเรา ศีล 5 บริสุทธิ์ ศีล 5 บริสุทธิ์นี้ ถ้ามีพรหมวิหาร 4 ด้วยก็คือใจเรามีความเอ็นดูช่วยเหลือผู้อื่นและสรรพสัตว์เสมอ อันนี้ก็คือจากข้างใน ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราเป็นผู้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความคิดที่อาฆาตแค้นพยาบาทกัน การจองเวรมันก็บรรเทาเบาลง อันนี้คือ 3 ข้อ สังโยชน์ 3 ข้อ จะเป็นภูมิของพระโสดาบันแล้วก็พระสกิทาคามี ถ้าอารมณ์ของพระสกิทาคามีนี่ อารมณ์ความปรารถนาความสุขในทางโลกจะเริ่มเบาลงจางลง ศีลจากศีล 5 ก็เริ่มละเอียดเป็นศีลควบกรรมบท 10

           ส่วนสังโยชน์ในข้อต่อๆมาก็คือมีเรื่องของตัดกามฉันทะและพยาบาท กามฉันทะและพยาบาทพอตัดต่อไปได้อีก 2 ข้อก็เป็นคุณของพระอนาคามี พระอนาคามี ความรู้สึกทางเพศจะจืดลง สิ้นลง ไม่มีความต้องการในเพศตรงข้าม ความรู้สึกความสุขในเรื่องของความร่ำรวย ความรัก โลภ โกรธ หลง การงานไม่ค่อยมี เบาจนกระทั่ง คำว่าอนาคามีแปลว่าผู้ที่ปราศจากเรือน คือปรารถนาการบวช ถ้าเมื่อไหร่อารมณ์เป็นพระอนาคามี ส่วนอารมณ์ของพระโสดาบันขอย้อนมานิดนึง ถ้าพระโสดาบันนี้จริงๆรวยได้ไหม รวยได้ แต่งตัวสวยได้ แต่งหน้าได้ เพราะมีบางคนเหมือนกัน เห็นเพื่อนไปปฏิบัติธรรม ทาหน้า ทาตา ทาปาก ไอ้คนไม่ปฏิบัติก็บอกเธอปฏิบัติธรรมแล้วมาแต่งหน้าอย่างนี้ได้ยังไง จริงๆเป็นไรไหม เออ นางวิสาขาสวยไหม นางวิสาขาใส่ชุดมหาลดาปสาธน์อลังการงานสร้างสวยงาม ไม่เป็นไรนะ ถ้าอารมณ์พระโสดาบัน แต่ถึงเวลาเมื่อไหร่ที่อารมณ์ของความเป็นพระพุทธเจ้าลึกขึ้นไปเรื่อยๆ ท่านจะจืดจากเรื่องพวกนี้เอง ดังนั้นบางคน ถ้าสำหรับเรื่องของการปฏิบัติสำหรับฆราวาสธรรม เรานี่ทรงอารมณ์ให้ได้อยู่ในความเป็นพระโสดาบัน ตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพานได้ไหม อันนี้ก็คือจะเบาหน่อย ไม่หนักไป ไม่งั้นตัดเข้าเป็นพระอนาคามี บางทีบางวาระยังต้องหาเลี้ยงชีพลำบาก ใช่ไหม อารมณ์มันจืด อารมณ์ความที่แบบจะคิดการงานให้มันก้าวหน้าธุรกิจเจริญรุ่งเรือง มันจะเริ่มยั้งตัว จะทำอะไรพวกนี้ไม่ค่อยได้ สมควรกับการไปบวชอย่างเดียว ดังนั้นเราเข้าใจอารมณ์ตรงนี้ก่อน ดังนั้นตอนนี้ถ้าเราปฏิบัติธรรม เราวางอารมณ์ในฆราวาสธรรม ก็คือตั้งใจไปพระนิพพาน แต่ในขณะเดียวกันเราก็ทำให้ทางโลกและทางธรรมนั้นสมดุลกันได้ไหม ได้นะ ยังกินของอร่อยได้ไหม ไปร้านกาแฟชิคๆที่เราชอบใช่ไหม โดนใจหลายคน ไม่เป็นไรนะ ยังไม่ผิดนะ เอาตามกำลังอารมณ์ เมื่อไหร่อารมณ์เราแนบหรือเข้าลึก เราก็ค่อยปรับ ค่อยวาง ค่อยจางไป ดีไหมไม่หนักไป ใช่ไหม

           คราวนี้เหลือสังโยชน์อีก 5 ข้อ ก็คือ รูปราคะ อรูปราคะ รูปราคะนั้นหมายความว่าติด หลง อยู่ในฌานสมาบัติ อรูปราคะคือติดหลงอยู่ในอรูปฌาน อรูปสมาบัติ หรือสำคัญผิดคิดว่า ความว่างของอรูปเป็นพระนิพพาน อันนี้คือตัวหลงในอรูปราคะ ส่วนอีก 2 ข้อก็คือ จิตยังมีความฟุ้งซ่าน มานะ และอวิชชา มานะก็คือความถือดี มีความรู้สึกน้อยใจ ก็ถือว่าเป็นมานะ ความถือดีว่าเราดีกว่าคนอื่นก็เป็นมานะ ท้ายที่สุดอารมณ์ในการละมานะ ก็คือรู้สึกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ต่างกันเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น และท้ายที่สุดอวิชชา อวิชชาตัวตัดจริงๆก็คือ เห็นอย่างชัดแจ้ง ร้านกาแฟที่ชิลที่ชอบ มันก็ไม่เที่ยง การอยู่บนโลกความเพลิดเพลินในโลกก็เป็นความไม่เที่ยง สุดท้ายอวิชชาตัวสุดท้ายคือตัดภพจบชาติ ความรู้สึกว่าเรายังติดอยู่ในภพพญานาคไม่มีแล้ว ความที่ยังอยากท่องเที่ยวไปในภพภูมิต่างๆ ยังอยากแบบได้มโนมยิทธิ ที่ยังอยากไปเที่ยวสวรรค์ อยากไปเที่ยวป่าหิมพานต์ ไม่มีในจิตเหล่านั้น คนไหนที่ได้มโนมยิทธิ จนกระทั่งถึงขั้นที่ว่า เลิกเที่ยว จิตปรารถนาอยู่กับพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานจุดเดียว อันนี้คืออารมณ์จะเริ่มจืดลง  ตรงนี้เข้าใจนะ สังโยชน์ 10 เข้าใจหรือยัง สุดท้ายคืออารมณ์ใจ อารมณ์ที่ละ อารมณ์จากความเข้าใจ จนจิตจางจากสิ่งที่เราเคยยึด คำว่าสังโยชน์แปลว่าเครื่องร้อยรัด คำว่าร้อยรัดนั้นหมายความว่าไง ร้อยรัดจิตเรากับภพนั้น ภพนั้น อย่างคำว่ากามฉันทะ ความอยากกิน ทำให้เราอยากมาเกิดเพื่อมากิน เข้าใจไหม ความติดในสมบัติทำให้เราอยากมาเกิดในภพนั้นเพื่อเสวยสมบัติ ซึ่งกามฉันทะนั้น มันมีทั้งกามฉันทะที่เป็นวัตถุธาตุทางโลก คือวัตถุสิ่งของในโลก ก็คือทำให้ติดอยู่ในความเป็นโลกมนุษย์ แล้วก็มีกามฉันทะในความเป็นทิพย์ นั่นก็คือติดในทิพยสมบัติ เช่นสมบัติบนสวรรค์ ติดไหม คิดถึงนางฟ้า บริวารบนอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จังเลย ก็พาให้ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คิดถึงความสงบสงัดในความเป็นพรหม ก็ทำให้ติดนั่นก็คืออรูปราคะ ก็ทำให้ไปติดในภพนั้น ดังนั้นสังโยชน์จริงๆ ถ้าเราถอดให้ออกก็คือ รัดจิตเราไว้กับภพภูมิต่างๆ ซึ่งสุดท้ายปลดล๊อคจุดเดียวก็คืออวิชชา เมื่อไรที่เห็นทุกข์ภัยในสังสารวัฏ ไม่รู้สึกว่าสังสารวัฏเป็นสุขจิตเราก็ตัดอวิชชาได้  ใครยังเสียดาย ยังอยากเกิดอีก ยกมือ ยังอยากเกิดไหม พุทธภูมิใช่ไหม ปรารถนาเป็นอัครสาวก อันนี้ก็แล้วแต่คนนะ เมื่อมีคนยกมือแบบนี้ ก็ต้องอธิบายต่อ วิสัยแห่งการบรรลุธรรม เคยได้ยินกันหรือยัง วิสัยแห่งการบรรลุธรรม คือเข้าถึงพระนิพพาน ถ้าสาวกภูมิจะมีสาวกภูมิกับพุทธภูมิ ใครไม่เคยทำได้ยินคำว่าพุทธภูมิบ้าง เอาจุดแรกคือสาวกภูมิ

           สาวกภูมินั้นมีวิสัยแห่งการบรรลุทั้งหมด 4 ประการ 4 ประการที่ว่าจะมาผูกโยงกับสมถะ ผูกโยงกับสมถะสมาธิ สมถะสมาธิที่ว่าก็คือวิสัยแรก สุขวิปัสสโก เข้าถึงบรรลุธรรม มีฐานของสมาธิจากอานาปานสติ ขั้นต่ำที่สุดคือปฐมฌาน ขั้นต่ำที่สุดนะคือปฐมฌาน แต่จำเป็นต้องได้ฌาน ปฐมฌานคือความสงบเพียงเล็กน้อยสามารถพิจารณาจนหมด ความสามารถของสุขวิปัสสโกก็คือพิจารณาธรรมจนจิตเป็นสุข บรรลุวิมุตเข้าถึงธรรม แต่ไม่มีตาทิพย์ ไม่มีหูทิพย์ ไม่มีอภิญญาจิต ไม่มีคุณสมบัติพิเศษทางจิตอื่นๆใด แต่ตัดกิเลสเข้าถึงพระนิพพานได้ ใครชอบบ้าง สงสัยห้องนี้อภิญญาใหญ่ทั้งห้อง ถ้ามีศรัทธากล้าแข็ง ได้ฌาน 4 ในอานาปาฯก็ได้ ส่วนคราวนี้ถ้าสังเกตทำความเข้าใจเราจะรู้ว่าขั้นตอนนี้จะมีเป็นสับเซตคือมีความกว้างขอบเขตความสามารถสูงขึ้นมาอีก

           คราวนี้ขั้นต่อมาก็คือวิชชา 3 เตวิชโช วิชชา 3 เตวิชโชนั้น จำเป็นที่จะต้องได้สมถะในกสิณกองใดกองหนึ่งอันเป็นบาทฐานแห่งทิพยจักษุญาณ เช่นอาโลกกสิณเป็นต้น อาโลกกสิณก็คือกสิณแสงสว่าง คือกำหนดนิมิตลูกแก้ว เกิดตาทิพย์ ซึ่งภาคปฏิบัติจริง ภาคปฏิบัติจริงนะ บางครั้งบางท่านได้กสิณไฟ เพ่งไฟเห็นภาพเกิดความเป็นทิพย์ก็มี บางท่านเอาน้ำใส่บาตรน้ำมนต์มองน้ำหรืออย่างนอสตราดามุส ได้ตาทิพย์จากการที่เอาน้ำมาใส่ขันแล้วมองเห็นอดีต อนาคตจากขันจากน้ำที่มอง ที่มองเป็นกสิณเป็นสมาธิจิต อันนี้คือตัวอย่าง มีตาทิพย์ หูทิพย์ มองเห็นเทวดา มองเห็นอนาคตมองเห็นอดีต  มองเห็นภาพได้ อันนี้ดีไหม เตวิชโช ดังนั้นถ้าเราชอบนิสัยไหน ความรู้ที่ว่านี่ จะเป็นเป้าหมายว่าทำไมเราต้องฝึกให้ได้สมถะถึงจุดนี้ จุดนี้มีเหตุมีผลไหม เพราะบาทฐานนี้จึงมีผลที่ทำให้เกิดอภิญญาจิตตรงนี้ ตรงนี้ ตรงไปตรงมาหลักสูตรของพระพุทธศาสนาเลยถือว่าเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมพัฒนาใคร พัฒนาจิตเราคือการพัฒนาจิตนะ คือจิตวิวัฒน์ จิตเราพัฒนาศักยภาพของจิตสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ดึงขีดความสามารถของจิตสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

           ขั้นที่ 3 ต่อมา ฉฬภิญโญ อภิญญา 6 คราวนี้ทำอะไรได้บ้าง เอาทำได้มาล่อก่อน แสดงอภิญญาใหญ่ได้ เสกของได้ เดินทะลุกำแพงได้ แยกกาย แสดงอิทธิวิธีได้ มีฤทธิ์ คือทรงฤทธิ์ ทรงอภิญญา ตรงนี้บาทฐานสิ่งที่ต้องทำมาเพื่อให้ได้คือ สำเร็จในกสิณธาตุโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรจะต้องได้กสิณธาตุทั้ง 4 คือดิน น้ำ ลม ไฟนั่นก็คือมีจิตตานุภาพอยู่เหนือธาตุ เปลี่ยนธาตุ แปลงธาตุ ตั้งธาตุ เดินธาตุได้ แต่ท้ายสุด บทจะใช้จริงก็คือนึกแล้วเป็น พระที่ท่านเป็นทรงอภิญญาและท่านที่ทำได้ท่านบอกจริงๆก็แค่นึก แต่จิตถึงแล้วแค่นึกก็เป็น จริงๆมันไม่ได้ยากวุ่นวายอะไรมาก แค่นึกก็สำเร็จ อันนี้ดีไหม คราวนี้ขั้นสูงกว่านั้น เห็นไหมสับเซตจะกว้างขึ้นเรื่อยๆ อ้อแล้วในฉฬภิญโญนี้ ตาทิพย์ หูทิพย์ได้ไหม ได้หมด คลุมทั้งหมด

           พอขั้นสูงกว่านี้ก็คือ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือ ปฏิสัมภิทัปปัตโต ปฏิสัมภิทาญาณนั้นก็คือคราวนี้ อภิญญาได้ไหมได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ได้ไหม ได้ แต่ที่ได้มากกว่านี้ก็คือปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ 1 ธรรมะที่ยากอธิบายให้ง่าย สั้นกระชับ ชัดเจน ธรรมะที่ยากทำให้ง่าย ธรรมะที่ง่ายทำให้ละเอียดลึกซึ้งแตกฉานลุ่มลึก คือเราบอกโอ้ย อันนี้ธรรมะพื้นๆ แต่ท่านอธิบายแบบลึกซึ้งละเอียด ดีไหม ทรงพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด บางองค์ที่ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณ บางท่านนี่จบป 4 หรือไม่เคยเรียนหนังสือ อยู่ๆทรงพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด คราวนี้อีกอย่างนึงก็คือรู้ภาษาทุกภาษา เนื่องจากรู้จักจิต และญาณเครื่องรู้ต่างๆจะมีสูงกว่าวิสัยอื่นๆทั้งหมด ปฏิสัมภิทาญาณนี่ ผมบังเอิญกราบขออนุญาต เมื่อสมัยที่ไปที่ปรียนันท์ธรรมสถาน ตอนนั้นก็สร้างเป็นที่ปฏิบัติธรรมกันที่พยุหะคีรี มีครั้งหนึ่งที่หลวงพี่เล็ก หลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุน ท่านเมตตามาช่วยดูแล และท่านก็มาพัก ที่นั่นด้วย ตอนกลางคืนก็มีก่อกองไฟ นั่งรอบกองไฟสนทนาธรรม ตอนเดินกลับไปที่พัก ท่านก็ทักผมว่า อันที่จริง ปฏิสัมภิทาญาณ ยังไม่เข้าความเป็นพระอริยเจ้า ปฏิสัมภิทาญาณนี้มันก็สามารถเกิดผล คือเกิดมาเป็นวิสัยของโลกิยะอภิญญาได้ อันที่ 1 อันที่ 2 ไม่ต้องได้ครบทั้ง 8 หรอก ได้อรูปกองใดกองหนึ่งก็มาแล้ว อันนี้ก็คือแก้ข้อสงสัย แต่ผมมันเป็นประเภทที่แบบเอาให้ได้ทั้ง 8 เลย สอนก็ให้ได้ทั้ง 8 เลย แต่ท่านบอกข้อหนึ่งก็ได้แล้ว กำหนดสภาวะความว่างเพิ่มความว่างออกไปก็ได้แล้ว อันนี้ท่านก็มาแก้ให้ อย่างจริงๆแล้ว การที่มาสอนนี้ก็จริงๆเราก็ใช้กำลังในเรื่องของการได้อรูปสมาบัตินี่แหละ มาช่วยทำให้การแสดงธรรมมันเกิดผลมากขึ้น ดังนั้นจริงๆคนที่เป็นครูสมาธิเป็นครูทั้งหลายในการถ่ายทอดธรรมะ ถ้าได้อรูปด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญหนึ่งของการที่ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณ ถ้าเราจำได้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก พระที่มาสังคายนาทั้งหมด หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานล้วนแต่เป็นพระที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณทั้งหมด ดังนั้นธรรมะจะไม่มีการฟั่นเฟื่อ ผิดเพี้ยนหรือใช้ความคิดแบบปุถุชนในการที่มาแปลความ ทำความเข้าใจในธรรม ดังนั้นจริงๆถือว่ามีความสำคัญ เดี๋ยวในอนาคตก็หลังจากนี้ไม่รู้อีกกี่ปีหรือ 10 ปีก็จะมีสังคายนาพระไตรปิฎกอีกครั้ง รอบนี้ก็ขอให้มีแต่พระปฏิสัมภิทาญาณด้วยเทอญ จะได้สืบต่อไปตราบ 5000 ปี อันนี้เลยเป็นความสำคัญที่จำเป็นจะต้องพยายามส่งเสริมถ่ายทอดให้ได้กัน สรุป 4 วิสัย อยากได้แบบไหน อยากได้แบบไหน โลภหน่อย ข้อ 4 เห็นว่าจริงๆแล้วฝึกไปเถอะ จริงๆมันไม่ได้ยากเกินไปหรอก อรูปไม่ยากเกินไป ถ้าตั้งใจจริงก็ฝึกได้

           คราวนี้มาทำความเข้าใจปูพื้นฐานอีกส่วนหนึ่งซึ่งค่อนข้างสำคัญ เวลาที่เราฝึกสมถะ มีใครสังเกตบ้าง เราฝึกนะ เดี๋ยวผมจะไล่ตามให้เห็นไทม์ไลน์ของการฝึกสมาธิก่อนนะ ว่ามันควรจะต้องเป็นไปยังไง  เริ่มยังไง ผ่านอะไร เจออะไร มีอะไรที่เป็นกับดักของการปฏิบัติบ้าง จุดแรกส่วนใหญ่ทุกคนเริ่มต้นการฝึกสมาธิจากอานาปานสติถูกไหมส่วนใหญ่จับลม จับลมเสร็จ ทำความเข้าใจก่อนเบื้องต้น ลมหายใจในอานาปานสติ ผมฝึกจากทางสายของอาจารย์ชม สุคันธรัตซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ทางสายพระอาจารย์ในดงก็คือสายหลวงปู่เทพอุดร ตรงนี้ท่านบอกเกณฑ์ของการฝึกอานาปานสติไว้ว่า ฌานมีความสัมพันธ์กับลมหายใจ จำนวนครั้งของลมหายใจ ถ้าใครเคยอ่านหนังสือหรือว่าบทความบางบทความ จะพบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยถามท่านวสิณ ว่ารู้ไหมว่าท่านหายใจนาทีละกี่ครั้ง คนปกติจะหายใจประมาณ 20 ครั้งต่อนาที ถ้ามีความเครียด มีความกังวลมากเท่าไหร่ ลมหายใจจะยิ่งหยาบ เวลาเครียดทำไมถึงถอนหายใจ ถอนหายใจหรือหายใจหนักคืออารมณ์หยาบ มีความเครียดถูกไหมจริงไหมเอ่ย คราวนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่ลมหายใจเบาลงเหลือประมาณสัก 10 กว่าครั้งต่อนาที ประมาณ 12 ครั้งต่อนาที คือลมหายใจเบาลง ละเอียดลง จดจ่ออยู่กับคำบริกรรม คือ พุทโธ แต่ลมหายใจมันเบาลง

           นั่นก็คือเริ่มเข้าปฐมฌาน ฌานที่ 1 อันนี้คือเกณฑ์ของหลวงพ่อฤาษีด้วย แล้วก็เป็นเกณฑ์ของพระอาจารย์ในดงด้วย คือลมหายใจมันเบาลง เรียกว่าละเอียดลง อันนี้คือปฐมฌาน ส่วนต่อมานะครับ ต่อมาเมื่อไหร่ก็ตามที่ลมหายใจมันเบาลง ละเอียดลงมากๆ เริ่มเบาลงจนกระทั่งเหลือ 5 ครั้งต่อนาที มีใครเคยทำบ้าง ไม่มีใครเคยนับหรอก ผมเชื่อ น้อย แต่ตอนนั้นผมฝึกจะเอาฌานให้ได้ ผมนั่งดูเข็มนาฬิกาและวัด จนกระทั่งได้ จนกระทั่งทำได้ พอ 5 ครั้งต่อนาที ลมหายใจมันเบา เบามากๆ คำภาวนาก็เริ่ม ปิติเริ่มมา ปิติเริ่มมา

           ปิติมีทั้งหมดกี่อย่าง ปิติ 5 มี 5 อย่าง ไม่ต้องเอาคำบาลี เอาอาการ เอาอาการที่ปรากฏให้รู้ทัน เช่นนั่งสมาธิอยู่หลับตา แล้วเรามีความรู้สึกว่าตัวเราเอียง อย่างนี้แหละหรือเอนหรือแบบนี้แต่คือนิ่งๆนะแต่พอลืมตาขึ้นมา เรามานั่งตรงอยู่ แต่ในจิตรู้สึกว่าเอียง มีใครเคยผ่านบ้าง แล้วสงสัยไหม เฉยๆรู้ทัน คนรู้ทันนี้เก่ง อันที่ 1 นะ อันนี้คือลักษณะ อันต่อมาก็คือรู้สึกว่าตัวโคลงก็คือโคลง นั่งสมาธิแล้วโคลง อันนี่ก็คือปิติ ต่อมาคือรู้สึกว่าตัวขยายใหญ่ ขยายใหญ่มากจนบางครั้งรู้สึกว่ามีแต่หน้าเราใหญ่ขึ้นมา หัวใหญ่ขึ้นมา รู้สึกนะ ใครเคยเจอบ้าง แต่ที่จริงปิตินี้ไม่จำเป็นต้องเจอครบนะ บางคนไม่เจอ ก้าวกระโดดข้ามก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเจอ ต่อมาที่มีก็คือ รู้สึกตัวจะลอย อย่างตอนที่ผมได้เมตตาอัปมาณฌาน คราวนี้นั่งสมาธิแล้วตัวจะลอยตลอดเวลา เดี๋ยวของขึ้นมาอันนี้มีเกิดขึ้นเยอะหลายท่าน รู้สึกเหมือนจะลอยจะเหาะขึ้นมาได้ ต่อมาก็คือขนลุกรู้สึกมีกระแสไฟฟ้าวิ่งจากกระดูกสันหลังวิ่งขึ้นมาแล้วรู้สึกมีความเอิบอิ่ม มีความสุข ตัวนี้เป็นปิติตัวเดียวที่ดีเพราะว่าจะทำให้ฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน ฮอร์โมนของโดฟามีนฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งแล้วก็เกิดพลังงานของปิติ อันนี้คือตัวปิติสุขแล้วเกิดพลังงานระเบิดออกไปในจักรวาล อันนี้ถือว่าดี คือกำหนดรู้หรือพยายามพีค พีคอารมณ์ของปิติสุข ให้แบบเพิ่มพูนขึ้นไป อันนี้คือตัวเดียวที่เกิดประโยชน์ ส่วนอีกตัวซึ่งทำลายสมาธิ ทำลายฌานของเราคือมดไต่ ไรตอม เซ็งมากนั่งสมาธิอยู่ มันมีอะไรยิ้บๆๆตามตัว ตามหน้า ตามแขน มดไต่หรือเปล่า พอลืมตา หรือตบ ไม่มี เป็นไหม แล้วสุดท้ายนั่งสมาธิเป็นสุขไหม หลุด ดังนั้นที่จริงปิติทั้ง 5 อันที่จริงทิ้งให้หมด คือก้าวข้ามไปให้หมด เมื่อไหร่ที่เราบอกอ้อปิติ ไม่เอา ข้ามมัน จะไม่เจออีก หรือแม้แต่การสั่น อาการเต้น จริงๆปิติหยาบ ทิ้งไปให้หมด ทิ้งคือแบบไม่ต้องสนใจ รู้เท่าทันว่ามันคือปิติ มันขัดขวางไม่ให้เราก้าวข้ามสู่ฌานที่ละเอียดขึ้นสูงขึ้นลึกขึ้น พอเรากำหนดรู้เมื่อไหร่ปุ๊บ มันหาย มันหายคราวนี้เราเข้าสู่ฌานละเอียดขึ้น มีแค่ปิติที่ตัวสุข แผ่เมตตาไปเลย ขนลุกมีความสุขดื่มดำอย่างยิ่ง แผ่เมตตาสว่างออกไป คือพีคขึ้นไป เรื่องปิติ อันนี้คือฌานที่ 2

           คราวนี้เมื่อไรถึงฌานที่ 3 ฌานที่ 3 อาการของอาปาณสติที่เกิดขึ้นก็คือ ลมหายใจมันจะเริ่มเบาละเอียด บางทีเหลือเพียงแค่เม็ดถั่ว แล้วก็นานๆหายใจที บางทีแค่นาทีละครั้งเดียว คือหายใจเพียงแค่นี้ปึ๊บ แล้วก็นิ่ง แล้วก็หายใจ นานๆหายใจที แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นถ้าตามดูความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วกาย จะรู้สึกได้ว่าขั้นนี้จะเริ่มเป็นการหายใจผ่านทางผิวหนัง เป็นอณูเป็นอนุภาคของอากาศที่เราเข้าทางผิวหนัง แล้วก็สมองของเราด้วยความสงบ การทำงานของร่างกายมันจะลดลงเข้าสู่สภาวะของการจำศีล ดังนั้นเราต้องการการสันดาปของออกซิเจนลดน้อยลง จนกระทั่งหายใจน้อยลงจากความสงบของจิต สมองเรานี่ใช้กลูโคสเป็นพลังงาน แล้วก็เป็นอวัยวะที่ใช้พลังงานสูงที่สุดในร่างกาย พอมันหยุดการประมวลผล พักการประมวลผล เราก็ต้องการสันดาปออกซิเจนน้อยลง ดังนั้นลมหายใจมันก็เบาลง อันนี้ก็คือวิทยาศาสตร์ ดังนั้นยิ่งสงบมากเท่าไหร่ ยิ่งปล่อยวางความคิดมากเท่าไหร่ พักจิตอยู่กับความนิ่ง ความหยุดเท่าไร ร่างกายยิ่งใช้ออกซิเจนน้อยลง นั่นก็คือผลพลอยได้ เหมือนเราหยุดเวลาของอายุ ดังนั้นคนทำสมาธิ ผลคือหน้าเด็ก ดีไหม เก็บทุกเม็ดไหม มีคนบอกว่ามาเรียนสมาธิกับอาจารย์คณานันท์คือมีเม็ดไหน มีประโยชน์อันไหน All In One เอาหมดดีไหม ดีใช่ไหม งั้นขอให้ทุกคนหน้าเด็กทุกครั้งที่ขยันทำสมาธิ ต้องหาเครื่องล่อเยอะๆ จะได้อยากมาปฏิบัติธรรม เมื่อก่อนทัศนคติเราเป็นยังไง ถามจริงพอมาฝึกจริงเป็นไงบ้าง เมื่อยไหม เอาสบายแล้วกัน ต่ออันนี้ฌานที่ 3 ลมหายใจละเอียดเบาเหลือเพียงแค่นิดเดียว ผมมองว่าเหมือนแค่เม็ดถั่วเพียงนิดเดียว ใช้น้อยมาก

           คราวนี้พอถึงฌาน 4 จากลมที่มันละเอียด ฌาน 3 จะเข้าพอถึงฌาน 4 เมื่อไหร่สติเรายังอยู่กับลม จากที่เบาเบาจนกระทั่งหยุด เห็นตัวหยุดของลม เห็นตัวหยุดของลมเมื่อไหร่ เราเห็นเอกัคคตารมณ์ เห็นเอกัคคตารมณ์คือถึงฌาน 4 ในอานาปาณสติ คือลมสงบระงับดับนิ่งหยุด เราไปถึงลมนิ่งหยุด เห็นเอกัคคตารมณ์เมื่อไร ระหว่างจะมีสภาวะที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์ เอกัคคตารมณ์อยู่ในฌาน 4 เอกัคคตารมณ์ก็คือเห็นตัวหยุด  ถ้าใครเคยฟังคำเทศน์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ  ท่านก็บอกว่า หยุดเป็นตัวสำเร็จ ก็คือหยุด ลมหยุด ลมสงัด ส่วนลมสงบระงับจิตหยุดเป็นเอกัคคตารมณ์  อธิษฐานในจิตที่หยุดนิ่งเป็น 1 นั่นแหละ ทุกสิ่งที่อธิษฐานก็สำเร็จ เข้าใจเคล็ดที่อรรถาธิบายแล้วนะ คราวนี้ตัวอุเบกขารมณ์ มีความสำคัญในฌาน 4 ซึ่งบางคนได้ฌาน 4 แต่ไม่รู้จักใช้อุเบกขารมณ์ อุเบกขารมณ์นี่เราต้องย้อนกลับมาดูว่าเมื่อเข้าถึงสภาวะอุเบกขารมณ์ เราจะวางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบทางอายตนะ คือสิ่งที่มากระทบทางตา ถ้าลืมตาฝึกเข้าฌาน 4 เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น สัมผัสเย็นร้อน แต่จิตเป็นไงบ้าง ไม่ปรุง ไม่วุ่นวาย รู้ สักแต่ว่ารู้ ไม่ปรุงต่อ เป็นอุเบกขารมณ์ อุเบกขารมณ์มีความสำคัญต่อเนื่องไปอีกเยอะ คือเมื่อไหร่เราฝึกอุเบกขารมณ์จนเชี่ยวชาญ มันจะไปมีผลต่อการฝึกอรูปต่อไป มีผลต่อ เวลาที่ญาณเครื่องรู้ปรากฏ  ญาณเครื่องรู้จะปรากฏถูกต้อง จิตเราต้องอยู่ในอุเบกขารมณ์ เหมือนกับจิตเราเวลารับสัญญารับข้อมูลมา แต่จิตเรายังแกว่งไกวอยู่ bias มันเกิดขึ้น อคติมันเกิดขึ้น ญาณเครื่องรู้ก็มีความเฝื่อ ความผิดเพี้ยน แต่ถ้าเมื่อไหร่เรารู้ในอุเบกขารมณ์ จิตวางเฉยตั้งมั่นสิ่งที่รู้ก็เที่ยงก็ตรง เพราะใจเราไม่มีแกว่งไกว ดังนั้นอุเบกขารมณ์จึงเป็นพื้นสำคัญอีกตัวหนึ่งของการปฏิบัติ พอถึงภาควิปัสสนาญาณ อุเบกขารมณ์ก็ถูกเอาไปใช้เรื่องสังขารุเบกขาญาณ จิตเป็นอุเบกขาต่อสิ่งที่มากระทบความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 สังขารุเบกขาญาณวางเฉยตรงนี้ได้ ก็กลายเป็นวิปัสสนาญาณต่อ ตรงนี้เข้าใจนะ

           สรุปอาการของฌาน 4 ในอานาปานสติคือลมสงบระงับ เบาละเอียด และหยุด ไม่ใช่กลั้นลมหายใจนะ คนละเรื่อง ไม่ใช่เรากลั้นลมหายใจแล้วบอกว่าเราจะเข้าฌาน 4 แต่ว่าความสงบมันเบาเกิดขึ้นของจิตจนกระทั่งลมมันหยุดดับ อันนี้เล่าให้ฟังนะ พอผ่านมาตรงนี้ จริงๆฌาน 3 สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือคำภาวนาเริ่มหายไป คำภาวนาหายไปส่วนใหญ่กลับมาภาวนาใหม่ มันก็ถอย กับอีกทีลมดับ ความไม่รู้ว่าลมดับมันคือฌาน 4 นิ่งไปสักพักนึง มันจะตายหรือเปล่า กลับมาหายใจ กลับมาภาวนาใหม่ ถอยหน้าถอยหลัง ถอยหน้าถอยหลัง สิ่งที่เกิดขึ้นคือสิ่งนี้ อันที่จริงเมื่อไหร่ที่ลมดับเข้าสู่ฌาน 4 ถ้าหากเราปฏิบัติต่อไปยังทรงอยู่ในฌาน 4 อันนี้เรียกว่าอุปจาระ ยังกำลังที่ยังมีความเบาบาง สามารถจะต่อไปสู่การเจริญวิปัสสนาญาณได้เลย คือลมดับสงบ ใจสบาย ใจนิ่ง หลังจากนั้นวิปัสสนาญาณต่อได้ อธิษฐานจิตนิ่งหยุด มีกำลังอธิษฐานในอภิญญาจิตได้ ใช้พลังในการไปรักษาโรคได้ แต่คราวนี้ถ้าเกิดจะเดินฌานลึก ถึงเวลาถ้าเราทรงในความนิ่ง ความหยุดต่อไป จิตจะเริ่มดิ่งลง สภาวะดิ่งลงสู่อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิก็คือสภาวะที่อาการที่เกิดขึ้นก็คือ หู หรือสภาวะในการรับรู้ในผัสสะภายนอก มันจะหรี่ลง จะหรี่ลง หรี่ลง หรี่ลง หรี่ลงไปเรื่อยๆไม่ได้ยินเสียง เหมือนมีคนมาลดเสียงไมค์ เราจะได้ยินเสียงน้อยลงไปปรากฏสภาวะที่รู้ตื่นตั้งมั่นอยู่ภายใน ใครเคยเข้าถึงจุดนี้อัปปนาสมาธิ จิตมันจะดิ่งลง เวลาถอนออกมันจะรู้สึกว่ามันค่อยๆถอนขึ้น แล้วหูค่อยๆได้ยินเสียงขึ้นเรื่อยๆ ใช่ไหมบางคนก็เกิดสภาวะนี้ตอนที่เราตื่นเช้าๆรู้สึกว่าจิตมันถอน ช่วงตื่นแล้วค่อยๆรู้ตัวอยู่ๆเสียงมันค่อยๆได้ยินเสียงขึ้น บางคนก็เกิดสภาวะนี้ก่อน ก่อนที่จะตื่น มีใครเจอบ้าง ถ้าเราเข้าใจปรากฏการณ์กับไทม์ไลน์ของการเดินจิต เราจะเข้าใจแล้วก็รู้ว่าจะต้องข้ามตรงไหน ผ่านตรงไหน เราต้องการไปต่อยังไง ตรงนี้ได้แล้วนะ เข้าใจแล้วนะว่าอัปปมาสมาธิ มันดิ่งลึกสู่ฌานละเอียด ลึกนิ่ง แต่มีบางคน ช่วงที่จิตดิ่งลง ไม่ลงดิ่งเป็นอัปปนา มันไปลงเป็นภวังค์จิต มันก็จะเป็นอาการเคลิ้ม เคลิ้มคลายหลับ จริงๆภวังคจิตก็คือเคลิ้มกึ่งหลับ ช่วงที่เคลิ้มกึ่งหลับ ก็ใช้ประโยชน์ได้หมด เราเป็นคนที่ใช้ประโยชน์ทุกเม็ด ช่วงเคลิ้มกึ่งหลับครึ่งตื่น จะหลับจะตื่น ภาษาของนักจิตวิทยาสมัยใหม่เรียกว่า trans เอาไปสั่งจิตใต้สำนึกได้อีก ไม่ให้เสียของเลย ถ้ารู้สึกเคลิ้มครึ่งหลับครึ่งตื่น สั่งจิตเลย โชคดี ฉันโชคดี เอาไปใช้ได้อีก เป็นไหม หรือมีเคลิ้ม ตกภวังค์ ก็มีอาการเหมือนตกจากที่สูง ถ้านั่งสมาธิอยู่ก็สะดุ้งคว้า หรือถ้านอนอยู่ก็คว้าเตียง มีใครเป็นบ้าง ที่เล่ามาทุกคน อาจารย์ตรงใจไหม รู้ทันหมดทุกเม็ดใช่ไหม เจอมาหมดแล้ว

           คราวนี้เราเดินจิตต่อมา เดินจิตจนมาถึงฌาน 4 ในอานาปานสติ ทำยังไงต่อ ในระหว่างที่จิต ลมหายใจเบาจนกระทั่งเจอตัวหยุดนิ่ง  ตัวหยุดนิ่งของลม เรามากำหนดต่อ ต่อเป็นอะไรดี ต่อเป็นกสิณ ทุกอย่างมันเรียงร้อยกันได้หมด  มาเป็นกสิณต่อ กสิณก็คือกำหนดให้เห็น ถ้าเอาง่ายสุดเลยก็เป็นลูกแก้ว ลูกแก้วใสๆ ถ้าเป็นกสิณที่เป็นกสิณ 10 คือดิน น้ำ ลม ไฟ เรียกว่ากสิณธาตุทั้ง 4 กสิณสีทั้ง 4 ก็คือสีขาว สีดำ สีเหลือง สีแดง แล้วก็มีอาโลกสิณกับกสิณที่เป็นที่ว่าง ไม่ใช่ความว่าง ไม่ใช่ความว่างในอรูป แต่เป็นที่ว่างเหมือนที่ว่างเปล่าๆ เหมือนนึกภาพว่ามีกำแพงอยู่ แล้วมันเป็นที่ว่างแล้วเราเดินทะลุเข้าไปได้ อันนั้นเรียกว่าที่ว่าง ไม่ใช่ความว่าง เดี๋ยวอีกสภาวะหนึ่ง ถ้าปกติวิธีการฝึกกสิณที่ง่ายที่สุดคือ นึกภาพเป็น 2 มิติคือโบราณก็เป็นแผ่นแบนๆ แต่ขั้นที่สูงขึ้นคือเห็นภาพเป็น 3 มิติคือเป็นลูกกลม เป็นลูกบอล เป็นลูกแก้ว เวลาที่เห็นนิมิต ถ้าเอากลางๆก็คือเห็นเป็นลูกแก้วเฉยๆ เอาง่ายที่สุด เรียบง่ายที่สุดว่าเป็นกสิณ หรือเป็นจิตของเรา เวลาฝึกกสิณ พยายามกำหนดจิต อันนี้คือทางลัดนะ อย่าคิดว่ากสิณคือนิมิตภายนอก ให้กำหนดทันทีว่ากสิณนั้นคือกสิณจิตของเราเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว เอกัคคตารมณ์ของกสิณมาเชื่อมกับจิตของเราเป็นหนึ่งเดียวกับกสิณ คือดวงแก้ว หรือลูกแก้วที่เห็นนั้นคือจิตกสิณหรือกสิณจิต พอกสิณมันเกิดขึ้นเป็นดวงแก้วดวงกลม อันนี้ก็คือถือว่าเป็นกสิณต้น เมื่อไหร่ที่ดวงกสิณที่เป็นลูกแก้วทรงกลมเริ่มใสขึ้น สว่างขึ้น ตรงนี้ใช้นึกก่อนนะ นึกภาพให้เห็นใสขึ้น สว่างขึ้นได้ไหม บางคนฟังตรงนี้ แล้วฝึกไปเลยนะ เห็นเป็นลูกแก้วสว่าง พอเป็นลูกแก้วสว่าง สว่างทำยังไง กำหนดให้สว่างเต็มที่ สว่างเต็มห้องก็ได้ กสิณ เคล็ดลับในการฝึกคืออะไร

           เคล็ดลับในการฝึกคือเราสามารถบังคับควบคุมภาพได้ตามที่ใจเราต้องการ ควบคุมได้ตามที่ใจเราต้องการก็คือขยายใหญ่ ย่อเล็ก เลื่อนขวา เลื่อนซ้าย ขึ้นบน ลงล่าง เคลื่อนไปส่วนไหนก็ได้ บังคับควบคุมได้ดั่งใจต้องการ นั่นก็คือเพื่อให้จิตตานุภาพเราอยู่เหนือดวงกสิณหรือธาตุนั้น พอเราบังคับ พลังจิตเราบังคับธาตุนั้นได้เราก็ใช้งานเขาได้ ก็คือบาทฐานของการได้อภิญญา จิตตานุภาพอยู่เหนือธาตุ อยู่เหนือกสิณ บังคับได้ ควบคุมได้ ย่อเล็ก ขยายใหญ่ พอเป็นแสงสว่าง กสิณนั้นกลายเป็นแสงสว่างควบคุมได้ดั่งใจ ตรงนี้เรียกว่า อุคคหนิมิตของกสิณ กสิณเริ่มมีกำลัง ขั้นต่อมาคือนึกภาพจากกสิณที่สว่างให้กลายเป็นเพชร ดวงแก้วเฉยๆให้กลายเป็นเพชร แสงสว่างให้กลายเป็นประกายพรึกเป็นปฏิภาคนิมิต คำว่าปฏิภาคนิมิตคือเป็นแสงสีรุ้ง 7 สี แพรวพราวเพชรระยิบระยับน้ำดีรัศมีแผ่สว่าง ปฏิภาคนิมิตคือฌาน 4 ของกสิณ แล้วกสิณนี่ที่จริงเราไม่ต้องไปใสเฉยๆก่อน หรือสว่าง เราไปพรึบเป็นปฏิภาคนิมิตเลยได้ไหม ได้ไม่จำเป็นต้องไปไล่ฌาน ฌานนี่ไม่จำเป็นต้องไล่ เราไปฌาน 4 เลยได้ไหม เวลาเขาปฏิบัติจริงๆในครูบาอาจารย์ที่ฝึกในอภิญญาใหญ่ เขาฝึกเพื่อความชำนาญอย่างแท้จริงนี่ เขาฝึกตั้งแต่ เขาเรียกว่าอนุโลมปฏิโลม คือไล่ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ฌาน ปฏิโลมคือย้อนกลับ คือ ฌาน 4 ฌาน 3 ฌาน 2 ฌาน 1 คือไล่ไปไล่มา อย่างกสิณก็ฝึกไล่ กองนั้น กองนี้ ฝึกได้แบบพูดปั๊บให้ฝึกกองนี้ เราทรงภาพได้เลย เราเข้าอารมณ์ได้เลย คือเข้าได้ทันที เข้าได้ทันที แล้วก็ไม่จำเป็นต้องขอไล่อารมณ์ก่อน ขอนับ 1 ไม่จำเป็น ต้องพรึบๆๆๆ ฝึกจริงคือแบบนี้ คนที่เขาได้จริง เขาทำแบบนี้ ตรงนี้เข้าใจนะ ดังนั้นข้อที่ติดของหลายๆคนก็คือคิดว่ามันจะต้องไล่มา 1 2 3 4 ที่จริงมันเข้าอารมณ์ได้เลย บางคนก็ติดตรงนี้จริงไหม คิดว่าจริงไหม ดังนั้นเราเข้าเลยไหมไม่ต้องไปติดกับดัก จริงๆเวลาผมฝึกสมาธิคือฟรึบ พยายามพาเข้าเลย อันนี้คือปฏิภาคนิมิตคือฌาน 4 ของกสิณ พอฌาน 4 ของกสิณได้แปลว่าอะไร วิสัยอย่างน้อย เราได้แล้ว เตวิชโช ฉฬภิญโญ คราวนี้ต่อมา อ้อลืมหัวใจสำคัญของกสิณอีกตัวหนึ่ง แล้วกสิณทุกกอง 10 กองมีสภาวะของอุคคหนิมิตกับปฏิภาคนิมิตเหมือนกัน กสิณต้นเห็นเป็นดินก้อนดิน กลายเป็นใส ฟรึบกลายเป็นเพชร น้ำเห็นเป็นมวลน้ำ เห็นเป็นมวลน้ำ เป็นก้อนน้ำหมุนๆลอยอยู่ทรงกลม ถึงเวลากลายเป็นแก้วใส ถึงเวลาเป็นเพชร กลายเป็นปฏิภาคนิมิตเลย เห็นกองไฟฟรึม กองไฟอยู่สัมผัสได้ถึงไอร้อนแผ่สว่าง ถึงเวลาเป็นแก้วใส ถึงเวลาเป็นเพชรประกายพรึกเป็นปฏิภาคนิมิตเลย สรุปยากไหม

           คราวนี้สิ่งสำคัญที่เพิ่มมาก็คือภาพนิมิตสัมพันธ์จิตใจ เวลาที่เห็นกสิณทุกกองเป็นแสงสว่าง อารมณ์จิตของเราต้องสัมพันธ์กับภาพนิมิต ยิ่งสว่าง ยิ่งใส ยิ่งเป็นเพชรมากเท่าไหร่ ใจเรายิ่งเอิบอิ่ม มีความสุข จนรู้สึกว่า ความสุขนั้นแผ่เป็นแสงสว่างออกมาพร้อมกับปฏิภาคนิมิตของกสิณ นั่นก็คือจิตเราจะเกิดจิตตานุภาพจริงๆ ด้วยเหตุนี้ถึงบอกว่าให้ผูกกสิณนี้กับจิตของเราโดยตรง ดังนั้นจำไว้ว่าเมื่อไหร่จิตเป็นปฏิภาคนิมิต ความรู้สึกคืออารมณ์ใจ อารมณ์กรรมฐานยิ่งต้องรู้สึกว่าเป็นสุขสว่าง เปี่ยมพลัง ถ้ากสิณที่เป็นกสิณธาตุ มันจะมีกระแสพลังของธาตุนั้นเจือออกมา เช่นธาตุดินจะรู้สึกว่ามันมีความหนักมีความตัน มีความทึบ ธาตุน้ำจะรู้สึกถึงความเย็น ความเปียก อนุภาคของความเป็นน้ำ ธาตุลมรู้สึกถึงการพัดพา ไฟจะรู้สึกถึงมีกระแสของไอร้อน ไออุ่น  คือเราสามารถปรับได้ว่าจะเอาร้อนมากร้อนน้อย ตอนนี้ก็เน้นกสิณน้ำหน่อยนะ อากาศร้อนแล้วไม่ต้องเร่งไม่ต้องเร่งความร้อนมากนะ หรือแม้แต่ธาตุน้ำจริงๆบางคนก็ทรงภาพน้ำเป็นน้ำแข็งแล้วไอเย็น อันนี้ก็ทำได้ อันนี้แล้วแต่คือดึงคุณสมบัติของธาตุน้ำทั้งหมด น้ำมีกี่สถานะ เป็นไอก็ได้ เป็นน้ำแข็งก็ได้ เป็นน้ำเปียกๆก็ได้ถูกไหม ถ้าเราเชี่ยวชาญในกสิณน้ำ เราก็สามารถใช้ได้ทั้งหมด กสิณ หัวใจของกสิณคือผนวกกสิณกับจิต ความรู้สึกปฏิภาคนิมิตเป็นหนึ่งเดียวกับภาพนิมิต อารมณ์กรรมฐานเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกับนิมิต พอกสิณเสร็จอะไรต่อ วันนี้เพิ่งเล่าให้ฟัง เพิ่งเล่าให้ฟังว่าจะครบแล้วนะ

           คราวนี้อรูปคืออะไร อรูปคือการพิจารณาว่าวัตถุธาตุทั้งหลาย วัตถุทั้งหลายรูปนั้นเป็นเหตุให้เราเกาะเกี่ยวยึดมั่น รูปทั้งหลายล้วนแต่เป็นทุกข์ พอพิจารณาได้ดังนี้ก็กำหนดเพิกรูป รูปนี้เริ่มต้นกองแรกคือพิจารณารูปในส่วนที่เป็นวัตถุธาตุทั้งหมดคือของหยาบทั้งหมด กำหนดก็คือแม้แต่ร่างกายเรา กำหนดเห็นว่าร่างกายเรานี้ก็เป็นรูปวัตถุ สลายกายไปหมด สลายโพเดียมทั้งหมด สลายเก้าอี้ สลายบุคคล จนกระทั่งเห็นทุกอย่างเป็นผุยผง สลายจางกลายเป็นความว่าง เวิ้งว้าง ไม่มีเพดาน ไม่มีพื้น ไม่มีผนัง เห็นแต่จิตของเราอยู่ท่ามกลางความว่าง ขาวโล่งไปสุดขอบจักรวาล คือสลายรูปวัตถุทั้งหมด แล้วทรงอารมณ์ นิ่งสงบอยู่ในความว่าง ไม่มีสิ่งใดมารบกวน การที่เราทรงในอรูปสมาบัตินี้ได้ มันจะเกิดสภาวะที่เราสามารถไปใช้ในการปฏิบัติก็คือจิตวิเวก เราไปอยู่ท่ามกลางผู้คน แต่เราทรงอารมณ์อรูป เรารู้สึกว่าไม่มีใคร ว่าง ไม่มีสิ่งรบกวน อันนี้ก็สามารถทำได้ อย่างมีครั้งหนึ่งพาลูกศิษย์ไปไหว้พระพรหมเอราวัณ คนเยอะมากทัวร์จีนลง พาอธิษฐานเข้าสู่จิตวิเวกนะ พออธิษฐานหลับตาปุ๊บ เขาก็รู้สึกว่าเขาอยู่จดจ่ออยู่กับพระพรหม คนรอบข้างหายไปหมด ไม่มีความวุ่นวาย แล้วก็สามารถอธิษฐานได้เต็มที่ได้เต็มกำลัง อันนี้ก็สามารถทำได้ อันนี้ก็คือการนำไปใช้งานตัวหนึ่ง พอนึกออกไหม พอได้นะ อันนี้ก็คืออรูป พออารมณ์ละเอียดขึ้นมา ก็คือข้ามไปถึงจักรวาล

           อรูปวิชาที่ 2 คือสลายไปทั่วจักรวาล วัตถุธาตุ สรรพสิ่ง ของหยาบไกลขึ้นอีก สุดขอบจักรวาล พอต่อมาก็คือตัดสัญญา ภาพเมมโมรี่ความทรงจำที่บันทึกในจิต สัญญา สัญญาใจ สัญญากับที่นั่นที่นี่ สัญญากับภพภูมิ ความจำ ความอาฆาตพยาบาท สิ่งใดที่เป็นสัญญา สัญญานี่แปลว่าความจำได้หมายรู้ที่บันทึกในจิต เราล้างฮาร์ดดิสก์ให้หมด เคลียร์สลายล้างความจำในจิตออกไปให้หมด พอสลายล้างไปหมดจนกลายเป็นความว่างปุ๊บ จิตมันก็มีพื้นที่สำหรับญาณเครื่องรู้ต่างๆที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้น เหมือนเราล้างข้อมูลขยะออกไป ลองคิดเอายุคปัจจุบันเรารับข้อมูลขยะเยอะแค่ไหน Facebook แต่ละวันมีกี่เรื่อง ข้อมูลขยะ ข้อมูลในระยะสั้น ข่าวที่ไม่อัพเดตแล้ว สมควรล้างไหม ล้างกลายเป็นความว่างไปหมด อันนี้ก็คือสัญญา

           สุดท้าย อีกข้อหนึ่งคือ สิ่งที่มันกระทบทางอายตนะ พอมากระทบปุ๊บ ก็กำหนดสลาย เสียงมากระทบหู สลาย สิ่งที่มากระทบตา สลาย จนไม่เหมือน มีสิ่งใดที่มากระทบทางอายตนะของเราเลย อันนี้ถึงบอกว่ามันจะไปพ่วงคาบเกี่ยวกันกับอุเบกขารมณ์ ในสิ่งที่มากระทบทางอายตนะ เราก็เห็นทุกสิ่งที่มากระทบกลายเป็นความว่างไปสุดขอบจักรวาล สุดท้ายแล้วอรูป อารมณ์ สภาวะของอรูปทั้ง 4 เหมือนกันไหม สุดท้ายกลายเป็นความว่าง เวิ้งว้าง ว่างเปล่า ข่าวโล่งสุดอนันตจักรวาล เหมือนกันไหม แต่ถึงเวลาก็คือต้องเข้าสู่สภาวะให้ลึก ให้ละเอียด อันนี้ก็ต้องไปทำกันเองกับเดี๋ยวอาจารย์จะพานำนะ อันนี้เพิ่งเล่าให้ฟัง

           จริงๆเริ่มฝึกปุ๊บกำหนดเป็นกสิณจิตเลยก็ได้ ทรงภาพพระเลยก็ได้ ทรงภาพพระใช้กำลังมโนเลยก็ได้ จิตรวมเป็นสมาธิ บางคนจิตรวมเป็นสมาธิปุ๊บ มันกลายเป็นว่าเขาเข้าฌานระดับฌาน 3 ได้เลย

           ในภาคปฏิบัติจริง อย่างเจโตปริยญาณ การรู้วาระจิต เจโตปริยญาณ อันที่จริงตั้งแต่เราได้ฌาน 4 ถ้าจิตเรานิ่งอุเบกขารมณ์เมื่อไหร่ ระหว่างนั้นมีบางคนก็สามารถได้เจโตปริยญาณได้ คือใครพูดอะไรเราผุดรู้ขึ้นมาจริงๆ บางคนแค่เขาคิด แค่เขาคิดเรารู้แล้วเราตอบมาโดยที่เขายังไม่เอ่ยปากพูด บางทีคนที่เราตอบเขา เขาก็ยังไม่ทันถามเลยทำไมรู้ว่าเขาคิดอะไร หรือมีอย่างบางปรากฏการณ์ ผมก็มีนะ อย่างล่าสุดขึ้นแท็กซี่ไป บอกว่าจะไปคลองเตย บอกแค่จะไปคลองเตย อ๋อตรงนี้ใช่ไหม ยังไม่ได้บอกเลย คือรู้แล้วอ๋อตรงปากซอยที่โชว์รูม BM ใช่ไหมรู้อีกรู้ตำแหน่งพิกัดเต็มที่เลยนะ เรายังไม่บอกอะไรเลย ไอ้เรื่องพวกนี้มันก็เกิดจากการที่ ภาษาที่คุยตลกๆก็คือคิดดัง เจโตปริยญาณจริงๆปฏิบัติไม่นานมากก็ได้ครับ ไม่ได้ยากเกินไป พอเราปฏิบัติถึงขั้นหนึ่ง ความเฉย อุเบกขารมณ์ เราจะไม่ตื่นเต้นกับเรื่องพวกนี้ มันรู้สึกว่าการได้อภิญญา การรู้วาระจิตคน เป็นเรื่องธรรมดา เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่วิเศษวิโส เป็นเรื่องที่เราจะมาอวด เป็นเรื่องที่เป็นปกติ คือทำเหตุยังไงได้ผลอย่างนั้น เราทำเหตุไว้ดีแล้วก็เกิดผลลัพธ์ของจิตที่พัฒนา พระพุทธเจ้าถึงทรงตรัสไว้ว่าจิตที่ฝึกมาแล้วย่อมนำประโยชน์สุขมาให้ แล้วก็เป็นคำถามต่อมาอีกว่าอย่างเราเคยได้ยินใช่ไหมคำว่าฌาน 4 ใช้งาน อ้ออานาปาที่ผมบอกนี่คือถือว่าเป็นฌาน 4 ใช้งาน ที่บอกว่าลมนิ่งหยุดดับแล้วต่อไปวิปัสสนาญาณต่อไป นั่นก็คือคำถามว่าเรามีกำลังฌานสมาบัติ กำลังสมาธิ กำลังกสิณแล้วเราจะใช้งานอย่างไร เอาไปใช้ยังไง ใช่ไหม

           1  คือไปใช้งานอย่างไร

           2 จะใช้งานของจิตให้เต็มกำลังได้ยังไง ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลยังไง ทำไง ใครเอาไปใช้ได้แล้วมั้ง ถ้าปฏิบัติธรรม ก็เอาไปตัดกิเลส จริงๆกำลังของอรูปสมาบัตินี่ พิจารณาต่ออีกนิด พระท่าน หลวงพ่อท่านก็สอนว่ากำลังของอรูป เดินจิตขึ้นมาอีกนิดนึงก็เป็นอารมณ์ที่ไปตัดในวิปัสสนาญาณเข้าถึงมรรคผลได้ง่าย เพราะกำลังสูงแล้ว การทำความว่างให้ปรากฏก็คือการปล่อยวาง ดังนั้นอรูปได้เมื่อไหร่ เราปล่อยวางได้มาก กำหนดสลายล้าง ปล่อยวางได้มาก ดังนั้นปล่อยวางอีกนิด คือปล่อยวางภพ ตัดให้สิ้น สิ้นภพจบชาติ ก็ทรงอารมณ์เข้าถึงมรรคได้ง่าย เหมือนกับที่สอนว่าเกร็งแล้วคลาย นั่นก็คือปล่อยวางร่างกาย พอเกร็งก็เหมือนเรายึดร่างกาย พอคลายก็สบายกว่าเยอะ เราเคยโง่ที่ยึดไปกี่ชาติแล้ว ดังนั้นแค่ผ่อนคลายและปล่อยวาง กระบวนท่าเดียวนี้เราก็ถ้าปฏิบัติได้ถึงขั้นก็คือผ่อนคลายปุ๊บ จิตเข้าฌาน 4 ได้เลย อันนี้คือผมฝึกตัวเองให้ถึงจุดนี้ ซึ่งจริงๆทุกคนถ้าตั้งใจฝึกก็ทำได้ พอผ่อนคลายเต็มที่แล้วมันเบามันนิ่ง จิตมันหยุดได้ทันที มันคือตัดขันธ์ 5 ก่อน ดังนั้นที่จริง สมถะและวิปัสสนามันสลับกันได้ไหม มันสลับกันได้ สอดประสานส่งเสริมกันหมด ดังนั้นเราตัดกายก่อนเลย คราวนี้มันเรื่องตัดกายเสริมก่อนฝึกจริงนะ

           การตัดร่างกายก็คือการแยกกาย แยกจิต แยกรูป แยกนาม แยกกายเนื้อ กายทิพย์ นั่นก็คือแยกจิตออกมาจากกาย เพื่อให้เราเข้าใจได้ว่าเราไม่ใช่ร่างกายขันธ์ 5 เราคือจิตอทิสมานกายคือนาม ไม่ใช่รูป ไม่ใช่วัตถุ พอเราเข้าใจตรงนี้เสร็จ มันจะทำให้เราปล่อยวางได้มากขึ้น ดังนั้นวัตถุประสงค์อีกจุดหนึ่งของการเข้าฝึกในสมถะก็คือเพื่อแยกรูป แยกนาม แยกกาย แยกจิต ยิ่งปล่อยวาง ยิ่งเห็นจิต จริงๆตั้งแต่ฝึกกสิณ มันจะแยกมาเห็นจิตชัดเจนขึ้น ใช้ศักยภาพความเป็นทิพย์ของจิต อภิญญาเนี่ยเริ่มเกิดตั้งแต่จิตเราเป็นปฏิภาคนิมิต จิตเราเป็นปฏิภาคนิมิตคือเป็นเพชรประกายพรึกเมื่อไหร่ ความเป็นทิพย์ของจิตเกิด อภิญญาเริ่มเกิด เวลาสวดมนต์สวดในสภาวะที่จิตเราเป็นประกายพรึก สวดคาถาหลวงปู่ดู่ กำหนดจิต กำหนดสวดไปเฉยๆ กับกำหนดจิตปุ๊บ เห็นภาพนิมิต องค์พระสว่างเป็นเพชรในมือที่เรากำเบาๆ ใจสบาย เห็นภาพ เห็นแสงสว่าง เป็นประกายพรึกสว่างไปทั่วจักรวาล อันนี้อานิสงส์ก็สูงกว่าสวดเฉยๆ คือกำลังของจิตมันสูงกว่า หรือถวาย อันนี้คือพูดถึงใช้งานแล้วนะ เวลาถวายทาน เรายกถวายโดยอาการก็เฉยๆ กับการที่จิตเราเวลายกถวายแล้วจิตเราสว่างที่สุด ผ่องใสที่สุดตอนถวาย อย่างไหนอานิสงส์มากกว่ากัน เห็นไหม ท้ายสุด อยู่ที่ไหน อยู่ที่จิต กำลังใจ กำลังจิต กำลังสมาธิ

           คราวนี้ฝึกต่อ เอาหมดเลยนะ เข้าฌาน 4 แค่ลัดนิ้วมือเดียว เริ่มต้น เกร็งก่อนเลย เกร็งสัก 3 ครั้งก่อน จะได้เบาๆ            เกร็งครั้งที่ 1 พุทโธ ธัมโม สังโฆ ผ่อนคลาย ปล่อยวาง

           เกร็งครั้งที่ 2 เกร็งทั่วร่างกาย เบาๆก็ได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ คลายให้สุดนะ คลายให้สุด คลายให้หมด คลายให้สุด เบาที่สุด

           เกร็งครั้งที่ 3 พุทโธ ธัมโม สังโฆ ผ่อนคลายให้สุด เบาให้สุด ทิ้งกายให้สุด แล้วก็มาอยู่กับลม ถึงเวลาจินตภาพ นึกภาพ เห็นลมหายใจเหมือนกับแพรวไหม พริ้วผ่านเข้าออกในกายของเรา เราเป็นผู้ติดตามดู ติดตามรู้ลมหายใจ ลมหายใจเป็นประกายระยิบระยับ ดุจแพรวไหมพริ้วผ่านภายใน พริ้วผ่านจากกายไหลออกภายนอก จังหวะของลมหายใจ เราปล่อยไปตามที่ร่างกายเขามีสภาวะตามธรรมชาติของเขา เรามีความรู้สึกเพียงเป็นผู้ดู ผู้รู้ในลมหายใจ ไม่ต้องสนใจอะไรทั้งสิ้น ติดตามจดจ่อเห็นลมหายใจตลอดสาย ตลอดทั้งกองลมนั้น ลมหายใจสั้นเรารู้ ลมหายใจยาวเรารู้ ลมหายใจละเอียดของเรารู้ ลมปราณ ลมหายใจสัมพันธ์จิตใจ สติกำหนดรู้ในลม กำหนดรู้ในอารมณ์ใจ รู้ว่าลมหายใจเมื่อเบาสบาย จิตเราก็เกิดความเบาความสบาย ลมหายใจยิ่งละเอียดยิ่งเบา เรายิ่งเข้าถึงความสุข ความสุขดังกล่าวนี้คือความสุขจากความสงบของสมาธิ อยู่กับลมสบาย อยู่ความสุขของสมาธิ ใจกำหนดรู้ พิจารณาธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ตรัสไว้ว่า ความสุขเสมอด้วยความสงบนั้นไม่มี อยู่กับความสุขสงบของสมาธิ สติกำหนดรู้ตื่นอยู่ ลมหายใจยิ่งเบา ยิ่งละเอียด ก็กำหนดรู้ ลมหายใจเริ่มเข้าถึงความสงบระงับลง เราก็กำหนดรู้ หากผู้ใดที่ลมหายใจนิ่งหยุด เห็นตัวหยุดตัวนิ่ง ก็กำหนดรู้ต่อไป ว่าจิตเราหยุดเป็นเอกัคคตารมณ์ เห็นความหยุดจากการปรุงแต่ง ความคิด ความซัดส่าย ความฟุ้งซ่าน จิตรวมตัวเป็นหนึ่ง เอกัคคตารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต เสียงได้ยิน ภาพสัมผัส ความรู้สึกเย็นร้อนอ่อนแข็ง รู้ทั้งหมดแต่จิตวางเฉย นิ่ง โฟกัสจดจ่ออยู่กับความหยุด กำหนดรู้ว่าจิตเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ ตั้งจิตอธิษฐานวสี นิ่งหยุด จิตนิ่งหยุดเป็นหนึ่ง

            ขอให้นับแต่นี้ข้าพเจ้าเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ ฌาน 4 แห่งอานาปานสติได้ในทุกครั้งทุกเวลาทุกสถานที่ ที่เราต้องการ ยืน เดิน นั่ง นอน ลืมตา หลับตาก็ทรงสมาธิจิต หยุดจิตเข้าสู่ฌาน 4 เอกัคคตารมณ์ อุเบกขารมณ์ได้ทุกครั้งได้โดยง่ายตลอดชีวิตของข้าพเจ้า ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

           ครั้งที่ 2 เข้าสู่ความนิ่งความหยุดอีกครั้ง นิ่งหยุด ขอให้ข้าพเจ้าเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ สงบจิตสู่ความสงบได้โดยง่าย เข้าฌาน 4 ได้แค่ลัดนิ้วมือเดียวอย่างง่ายดาย ทรงอารมณ์จดจำสมาธิจิตได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตลอดชีวิตของข้าพเจ้า จากนั้นนิ่งหยุด

           อธิษฐานเป็นครั้งที่ 3 ตติยัมปิ นิ่งหยุดสงบ ผ่องใส ใจเป็นสุข เอิ่มอิ่ม นิ่งสงบ ขอให้ข้าพเจ้าเข้าสู่เอกัคคตารมณ์ ฌาน 4 อุเบกขารมณ์ในสิ่งที่มากระทบ จิตหยุดจากการปรุงแต่งทั้งหลาย เข้าฌาน 4 ได้ง่ายดายเพียงแค่ลัดนิ้วมือเดียว และทรงฌานสมาบัติ ความนิ่งความหยุดนี้ได้ตลอดไปตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน จากนั้นกำหนดจิตต่อไปในความนิ่งความหยุดนั้น กำหนดนึกภาพ จินตภาพเกิดดวงแก้ว คือดวงจิตของเรา ดวงจิตดวงแก้วของเราสว่างขึ้น ใสขึ้น กลายเป็นแสงสว่าง ยิ่งสว่างมากเท่าไร จิตเรายิ่งยิ้มจากภายในจนกายยิ้ม แสงสว่างภาพนิมิตจิตสัมพันธ์จิตใจ สัมพันธ์อารมณ์ใจ ยิ่งสว่าง ใจยิ่งเป็นสุข ยิ่งเอิ่มอิ่ม ยิ่งสว่างผ่องใส กำหนดรู้ว่าจิตของเราเข้าถึงอุคคหนิมิตแห่งกสิณ กำหนดจิตต่อไปว่ายิ่งมีจิตที่ปราณีตกว่านี้ กำหนดให้เห็น นึกภาพจิตจากดวงแก้วสว่างใสกลายเป็นเพชรประกายพรึก คือเป็นเพชรงาม เพชรรูปทรงกลม เจียระไนละเอียดระยิบระยับ มีแสงสว่างประกายรุ้งฉัพพรรณรังสีเป็นประกายประดุจแสงสว่างอันเจิดจ้าเจิดจรัส แผ่สว่างกระจายออกมาจากจิตของเราที่เป็นเพชรนั้น กำหนดรู้ว่าจิตเราเข้าถึงความผ่องใสเต็มกำลัง จิตสว่างเป็นสุข ความผ่องใสกำหนดพร้อมไปว่าจิตของเราเข้าถึงจิตเดิมแท้อันเป็นประภัสสร จิตเป็นเพชรประกายพรึกสว่าง จนสถานที่ที่เราฝึกสมาธินี้สว่างพรั่งพรายเป็นเพชรระยิบระยับ สว่างเจิดจ้าเจิดจรัส จิตของเราเป็นสุขเกิดความเอิบอิ่ม เกิดความแช่มชื่น เกิดความสุขสว่างอย่างยิ่ง กำหนดรู้ว่าจิตเข้าถึงจิตอันเป็นประภัสสร รู้สึกว่ารอบกายมีความพรั่งพรายรายรอบด้วยกระแสแห่งความสุขความสงบความร่มเย็น จิตเกิดความเป็นทิพย์เต็มกำลัง

           อธิษฐานจิตในความเป็นเพชรประกายพรึก ในจิตอันเป็นประภัสสรว่า นับแต่นี้ขอให้จิตอันเข้าถึงกสิณจิต กสินทั้ง 10 กองจงมารวมตัวเป็นหนึ่ง เอกัคคตาแห่งกสิณในจิตของข้าพเจ้า จิตข้าพเจ้าเข้าถึงความเป็นประภัสสร ได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ความผ่องใสบริสุทธิ์แห่งจิตจงปรากฏกระจ่างในใจของข้าพเจ้าเป็นปรกติ สลายความทุกข์ ความเศร้าหมอง สรรพกิเลสทั้งหลาย ออกไปจากดวงจิตข้าพเจ้า ได้ในทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ จากนั้นกำหนดให้เห็นจิตเป็นเพชรประกายพรึกสว่าง จิตเป็นสุขเอิบอิ่มผ่องใสเต็มกำลัง ความรู้สึกว่ามีพลังงานเปล่งประกายจากดวงจิตอันเป็นประภัสสรนั้น ใจยิ้ม ใบหน้ายิ้ม ภายในของเราสว่าง แสงสว่างจากกสิณจิต ส่งพลังงานแห่งความสุข ความเอิบอิ่ม ความผ่องใส แผ่สว่างทั่วร่างกายขันธ์ 5 กายเนื้อ กล้ามเนื้อทุกส่วน เซลทุกเซล อวัยวะทุกส่วน โรคภัยไข้เจ็บสลายล้างออกไปจากขันธ์   5 จากกาย ความผ่องใส พลังงาน ความบริสุทธิ์แผ่สว่างทั่วกาย ทั่วจิต กายเนื้อกายทิพย์สว่าง ทรงอารมณ์อยู่ในความสว่างผ่องใส กายและจิตชัดเจนเป็นปฏิภาคนิมิต มีรัศมีมีพลังงานแผ่สว่างจากภายใน จิตตานุภาพสะสมเพาะบ่มในทุกวินาทีที่เราทรงอารมณ์ไว้ ยิ่งจิตสงบนิ่ง ยิ่งจิตเกิดความผ่องใส จิตยิ่งมีกำลังจากตบะฌานสมาบัติความเป็นทิพย์ยิ่งปรากฏสะสมเพาะบ่มในจิตของเรา ทรงอารมณ์ไว้ ทรงภาพนิมิตไว้ ใจผ่องใสสว่าง รัศมีกายสว่าง ดวงจิตสว่าง หากกำหนดในจักระทั้ง 7 ทั่วจักระทั้ง 7 ปรากฏความสว่าง ทั่วจักระทั้ง 7 สะอาดสว่าง

            จากนั้นกำหนดต่อไปอธิษฐาน เมื่อจิตเราเป็นสุขจากความเป็นทิพย์ จากจิตอันเข้าถึงกสิณจิต จากจิตเดิมแท้อันเป็นประภัสสรแล้ว ความเป็นทิพย์ของจิตเริ่มปรากฏ จิตตานุภาพปรากฏ เราขอน้อมจิตอธิษฐานรวมบุญรวมบารมีนับตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ตราบจนอนาคตกาล บุญกุศล บารมีทั้ง 30 ทัศ ทาน ศีล ภาวนา สัมมาทิฏฐิ การปฏิบัติธรรม การเจริญพระกรรมฐาน ความดีทั้งหลายที่เราเคยทำ เคยสร้าง เคยบำเพ็ญไว้ นับตั้งแต่อดีตชาติ เนิ่นนานจนแม้ไม่อาจจดจำได้ก็ตาม ขอบุญกุศลทั้งหลาย จงเป็นแสงสว่างจากทุกห้วงแห่งกาลเวลา ทุกภพ ทุกภูมิ ทุกมิติ ทั่วอนันตจักรวาลเป็นแสงสว่างพวยพุ่งรวมตัวมายังจิตของเรา จนจิตของข้าพเจ้ายิ่งเกิดความสว่าง บุญจงส่งผลทันใจ มหากุศลบารมีทั้งหลายจงรวมตัวเป็นอัศจรรย์ จิตยิ่งสว่างขึ้น ผ่องใสขึ้น สว่างขึ้น เกิดกำลังความเป็นทิพย์สูงขึ้น เป็นพลังงานมากมายมหาศาลจนจิตมีความสุขเอิบอิ่ม ล้นจิตล้นใจ กุศลจงส่งผลรวมตัวเต็มกำลัง พลังงานความสว่าง กระแสแห่งกุศลอัดแน่นอยู่เต็มจิต ใจเอิ่มอิ่มเสวยอารมณ์ เสวยความสุข ผลแห่งบุญทั้งหลายรวมตัว ถูกกระตุ้นตื่นขึ้นมาในจิตของเรา จนจิตเราเกิดความสุขล้นปรี่ขึ้น สภาวะที่เรารวมบุญ รวมบารมีมาส่งผลในชาติปัจจุบันนี้ยิ่งส่งผลขึ้น กำหนดจิตว่าขอให้กำลังแห่งบุญบารมีที่เรารวมตัวจงเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพานในที่สุดด้วยเทอญ กำลังใจเพิ่มพูนขึ้น ความผ่องใสเพิ่มพูนขึ้น ความสุขความปิติปรากฏมากมายมหาศาล จนรู้สึกได้ถึงกระแสพลังที่อยู่ภายในจิต จิตตานุภาพเกิดพลังอย่างไม่มีประมาณ กุศลรวมตัวในจิตเต็มกำลังแล้ว เราจึงพิจารณาต่อ ความสุขความเอิบอิ่มจากกุศล จากความผ่องใส จากการปฏิบัติของเรานั้น เราเสวยอารมณ์อยู่นี้ เราเข้าถึงความสุข เรามีความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ ต่อเพื่อนมนุษย์ ปรารถนาให้สรรพสัตว์นั้นเข้าถึงกระแสแห่งบุญกุศล เป็นผู้ที่ปราศจากเวรภัย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากการเบียดเบียน เราจึงตั้งจิตดำริชอบ แผ่เมตตาเป็นกระแสพลังงาน เป็นแสงสว่างระเบิดออกจากดวงจิตของเรา เป็นพลังงานสว่างสีทอง แผ่สว่างออกไปจนกระทั่งห้องนี้ทั้งหมดมีแต่แสงสว่างสีทอง เป็นกระแสความรู้สึกของความเมตตาปรารถนาให้ทุกรูป ทุกนามเข้าถึงความสุข ความเอิบอิ่ม ความผ่องใส ความเมตตา กระแสแห่งความสุขนี้ แผ่สว่างไปพร้อมกับอารมณ์ความรู้สึก แสงรัศมีสีทองขยายขอบเขตจนปกคลุมอาณาบริเวณสถานที่แห่งนี้ทั้งหมด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาณาบริเวณโดยรอบรัศมี 1 กิโลเมตรทั้งหมดแถบนี้ สลายล้างพลังงานลบ สลายล้างพลังงานแห่งความโกรธแค้นเกลียดชัง บาปเวรอกุศลทั้งหลายสลายออกไป มีแต่เมตตา มีแต่ความสุขกาย สุขใจ กำหนดจิตแผ่เมตตาสว่างขอบเขตกระจายออกไปจนปกคลุมกรุงเทพฯทั้งหมด เกิดแสงสว่าง ความเมตตา ความปรารถนาดี บุญกุศลแผ่ปกคลุม ความเมตตากระจายออกไปทั่วประเทศไทย ทั่วโลก เห็นแสงสว่างปกคลุมทั่วโลก โลกนี้มีแสงสว่างสีทองแผ่ครอบคลุมคุ้มครอง ขอสันติภาพ สันติสุขจงปรากฏเข้าสู่ยุคชาววิไล ความเมตตา มนุษยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมจงปรากฏผุดรู้ตื่นขึ้นในจิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย แผ่เมตตาสว่าง จินตภาพ นึกภาพกระแสแห่งเมตตา แสงสีทองระเบิดจากจิตเรา เป็นเหมือนกับ supernova ระเบิดกระจายส่องสว่างไปทั่วอนันตกจักรวาล สุดขอบเขตอนันตจักรวาล ความเมตตาของเราไม่เลือกที่รักไม่มักที่ชัง มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ยิ่งแผ่สว่าง จิตยิ่งมีกำลัง จิตยิ่งเอิบอิ่ม จิตยิ่งเป็นสุข พลังงานความเมตตายิ่งเพิ่มพูนล้นเหลือในจิตของเรา เมื่อสุดขอบเขตจักรวาลอันเป็นภพกลาง ภพอันมีรูปวัตถุ

           แผ่เมตตาลงไปยังภพภูมิแห่งทุติคติภูมิ กำหนดรู้พิจารณาในไตรภูมิ ภพแห่งทุติภูมิ อันได้แก่ภพของสัตว์เดรัจฉาน แผ่เมตตาแสงสว่างลงไปถึงสัตว์ทั้งหลายที่มีรูปกาย จะอยู่บนโลกมนุษย์ หรือดาวดวงอื่น สรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ปราศจากเวรภัย จงได้รับกระแสแห่งความสุข แสงสว่างสีทองแห่งเมตตาจากดวงจิตเรากระทบจิตใด ก็ขอให้จิตนั้นเอิบอิ่มผ่องใสสว่าง

           แผ่เมตตาต่อไปยังโอปปาติกะ สัมภเวสี ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลาย ที่เร่ร่อนปะปนอยู่ในภพ ขอจงปรับภพภูมิ กระแสเมตตาจากจิตเรา จงแผ่ถึงทุกรูปทุกนาม แผ่เมตตาต่อไปยังภพของเปรตอสุรกายและสัตว์นรกในทุกขุม แผ่เมตตาในขณะที่จิตเราก็เรียนรู้ให้เห็นว่า ยังมีดวงจิตที่เสวยความทุกข์อยู่มากมายมหาศาล เรายังโชคดีที่เกิดเป็นมนุษย์ เรายังโชคดีที่ได้มาปฏิบัติธรรม เรายังประโยชน์แห่งการเจริญพระกรรมฐาน แผ่เมตตาอัปมาณฌาน โปรดช่วยเหลือสรรพสัตว์เหล่านี้ได้ ยิ่งแผ่ ยิ่งสงเคราะห์ ยิ่งปรับภพภูมิ บุญกุศลยิ่งสะสมเพาะบ่ม จิตเรายิ่งเป็นสุข

           จากนั้นแผ่เมตตาขึ้นไปยังภพแห่งสุคติภูมิแผ่เมตตาขึ้นไปยังภพของภุมมเทวดา พระภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย เจ้าป่าเจ้าเขาทั้งหลาย รุกขเทวดา เทวดาผู้มีวิมานอยู่บนต้นไม้อันมีแก่น น้อมถวายกุศลจากการเจริญพระกรรมฐาน และแผ่เมตตาให้ทุกท่าน ทุกรูป ทุกนามพลอยมีความสุข รับกระแสบุญ

           แผ่เมตตาสว่างออกไปอีก จนถึงชั้นภพแห่งอากาศเทวดาทั้ง 6 ชั้น อันได้แก่ จตุมหาราชิกา ดาวดึงสา ยามา ดุสิต นิมมาน ปรนิม แผ่เมตตาไปถึงทุกท่าน ทุกรูป ทุกนาม ท่านที่เป็นสุขแล้วก็ขอให้เป็นสุขยิ่งขึ้น

           แผ่เมตตาต่อไปยังพรหมโลกทั้ง 16 ชั้นอันมีท่านท้าวสหัมบดีพรหมเป็นประธาน กระแสแห่งเมตตาอัปปมาณฌานของข้าพเจ้าจนถึงเหล่าพรหมทั้ง 16 ชั้น ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาสาธุในกระแสเมตตาฌานอันไม่มีประมาณนี้ด้วย กระแสแห่งอาภัสราพรหมจงปรากฏขึ้น ความสว่างแห่งพรหมทั้งหลายจงปรากฏขึ้น

           แผ่เมตตาต่อไปยังอรูปพรหมทั้ง 4 จากนั้นน้อมจิตต่อไป ว่าอรูปพรหมทั้งหลาย ขอกระแสเมตตาจนถึงทุกท่าน ทุกรูป ทุกนาม และก็ตั้งจิตต่อไปว่า รำลึกนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพาน กำหนดจิตทรงภาพ นึกถึงภาพพระ นึกถึงภาพพระพุทธรูป เมื่อไหร่ที่เรานึกถึงภาพพระพุทธรูป จิตเราฝึกพิจารณาให้เป็นปกติเชื่อมโยง ภาพพุทธนิมิตคือภาพนิมิต ภาพที่เรารำลึกนึกถึงพระพุทธเจ้านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน นึกถึงภาพพระ กราบพระพุทธรูปบนโลกมนุษย์ จิตเราถึงพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานทุกครั้ง

           กำหนดว่าภาพพุทธนิมิตในจิตของเรา เชื่อมกระแสโดยตรงกับพระพุทธองค์บนพระนิพพาน จากนั้นน้อมจิตขอบารมีพระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ ขอให้เห็นกายทิพย์ของข้าพเจ้าจงปรากฏอยู่เบื้องหน้าเบื้องพระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นกำหนดจิตว่าเรากำลังกราบพระพุทธองค์ด้วยความนอบน้อม พระพุทธองค์ทรงปรากฏประดุจว่ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ตั้งจิตว่าจิตเราถึงพระพุทธเจ้า จิตเราถึงพระพุทธองค์บนพระนิพพาน ยามที่เราน้อมจิต นึกน้อมว่าเรากราบพระพุทธเจ้า เรากำลังอยู่กับพระพุทธเจ้า กราบพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ค่อยๆบรรจงกราบด้วยความเคารพ ด้วยความนอบน้อม กำลังจิตมีความอ่อนโยน มีความเคารพในพระพุทธเจ้าสุดหัวจิตหัวใจ เห็นตัวเรากายของเราอยู่ข้างบน อยู่เบื้องหน้าพระพุทธองค์บนพระนิพพาน เราพิจารณาด้วยกำลังของเมตตาเจโตวิมุต เมตตาอัปปมาณฌาน พิจารณาแผ่เมตตาทั้งสามภพภูมิ และเรายกกำลังจิตข้ามภพ ข้ามภูมิ ยกจิตขึ้นสู่พระนิพพาน กำหนดจิตว่าเรานั่งอยู่เบื้องหน้าพระพุทธองค์

           จากนั้นตั้งจิตอธิษฐาน ขอบารมีพระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ ขอพระพุทธเจ้าที่ทรงปรากฏมาแล้วในกาลก่อน นับตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐม พระพุทธเจ้าทุกพระองค์  ขอจงปรากฏขึ้นเบื้องหน้า พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์นับตั้งแต่อดีตตราบจนองค์ปัจจุบัน พระอรหันต์ทุกพระองค์ที่บรรลุเข้าถึงพระนิพพานแล้ว ขอจงเมตตาปรากฏขึ้นอยู่เบื้องหน้ากายทิพย์ของข้าพเจ้าที่อยู่บนพระนิพพานขณะนี้ จากนั้นกำหนดน้อมนึก ว่ากายของเรานั้นอยู่ในสภาวะนั่งขัดสมาธิอยู่เบื้องหน้าห้อมล้อมด้วยพระพุทธองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุกพระองค์

           จากนั้นน้อมจิตอธิษฐานต่อไป ด้วยกำลังแห่งเมตตาที่ข้าพเจ้าเจริญเมตตาเจโตวิมุต ใช้กำลังมโนมยิทธิยกจิตขึ้นมาบนพระนิพพาน ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานเชื่อมกระแสกับทุกพระองค์บนพระนิพพาน กระแสพุทธเมตตา กระแสความเมตตาจากพระพุทธเจ้า จากพระปัจเจกพุทธเจ้า กระแสแห่งพระอรหันต์ ขอจงรวมตัวเป็นกระแสบุญศักดิ์สิทธิ์จากพระนิพพาน ขอจงหลั่งไหลเชื่อมโยงมายังกายทิพย์ของข้าพเจ้า จนจิตข้าพเจ้าสว่างผ่องใสกลายเป็นแก้วเป็นเพชรสว่างผ่องใสเต็มกำลัง อยู่ศูนย์กลางที่ห้อมล้อมด้วยพระพุทธองค์บนพระนิพพานนั้น สว่างเป็นเพชร จิตมีความเอิบอิ่มเป็นสุข         จากนั้นกำหนดจิตต่อไป เมื่อเชื่อมกระแสกับทุกท่านบนพระนิพพานแล้ว ข้าพเจ้าขอแผ่เมตตาลงมายัง 3 ภพภูมิอีกครั้งหนึ่ง ขอกระแสพุทธเมตตาจากทุกท่านทุกๆพระองค์ เสริมกำลังแห่งการเจริญเมตตาอัปปมาณฌานให้ข้าพเจ้าแผ่เมตตาลงมายังอรูปพรหม  พรหมโลก สวรรค์ รุกขเทวดา ภุมมเทวดา มนุษย์ทั่วอนันตจักรวาล สรรพสัตว์ทั่วอนันตจักรวาล โอปปาติกะ สัมภเวสีทั้งหลาย ตลอดรวมไปจนถึงเปรตอสุรกายและสัตว์นรกในทุกขุม กำลังใจในขณะที่แผ่เมตตาขณะนี้ ขอเป็นบารมีของพระพุทธเจ้าเปิดโลก เปิดจักรวาล เปิด 3 ภพภูมิ กระแสบุญเชื่อมโยงส่งถึงเต็มกำลัง จากนั้นกำหนดจิตต่อไปว่า เมื่อเราแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ มีเมตตาต่อสรรพสัตว์อย่างไม่มีประมาณแล้ว ข้าพเจ้าขอเจริญจิตในขณะอยู่บนพระนิพพาน ขอให้มหาอภัยทานต่อทุกดวงจิต สรรพสัตว์และดวงจิตอื่นใดที่เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อข้าพเจ้า ทางกาย วาจา ใจ ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อท่านทั้งหลายในวาระกรรม ทั้งที่จำได้ก็ดีจำไม่ได้ก็ดี ทำในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ในอดีตชาตินานมาแล้วก็ดี ข้าพเจ้าขอถอนอารมณ์จิตแห่งความเป็นเจ้ากรรมนายเวรของทุกท่าน ขอชาติภพที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องไปเกิด พยาบาทจองเวรจองกรรมต่อท่านทั้งหลาย จงสลายสิ้นไป ให้อภัยทานต่อทุกดวงจิต ให้อภัยทานต่อทุกวาระ จิตยิ่งเบา จิตยิ่งละเอียดขึ้น ใจยิ่งสูงขึ้น ชาติภพยิ่งสั้นลง

           อธิษฐานจิตต่อไป และในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าขออาศัยบารมีแห่งพระเจ้าเปิดโลก เปิดจักรวาล เปิด 3 ภพภูมิ ส่งกระแสจิตกราบขอขมาต่อท่านทั้งหลาย ในสิ่งที่ล่วงละเมิดต่อท่านทั้งหลาย สูงสุดนับตั้งแต่ขอกราบขมาพระรัตนตรัย หรือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เทพพรหมเทวา พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์ พระมหากษัตราธิราชเจ้า ตลอดรวมไปจนถึงพ่อแม่ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ ทั้งในอดีตชาติจนถึงท่านที่เป็นบุพการีในชาติปัจจุบัน รวมไปถึงดวงจิตทั้งหลาย สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าอาจเคยล่วงเกินต่อท่าน เคยเบียดเบียนท่าน เคยประหัตประหาร เคยทำร้าย เคยใส่ความ เคยรังแกท่านมา เคยประมาทพลาดพลั้งจนทำให้ท่านกลายเป็นเจ้ากรรมนายเวร กระแสจิตกระแสบุญกุศลนี้ จงสลาย ขอการขมากรรม การอโหสิกรรมนี้ จงทำให้กรรมทั้งหลายเป็นโมฆะกรรม วิบากทั้งหลายจงสลายตัว จงเบาบาง ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ปราศจากการก่อเวรเป็นผู้ที่ให้อโหสิกรรมแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้ละจากการเป็นเจ้ากรรมนายเวรแล้ว ก็ขอพึงให้ท่านได้ปลดเปลื้องพันธนาการแห่งจิต ในความพยาบาทจองเวร ขอจงสลายปราศนาการไป ความเป็นเจ้ากรรมนายเวร ความทุกข์ ความโกรธ ความอาฆาตแค้นในดวงจิตท่านทั้งหลาย จงสลายตัวไปด้วยกำลังแห่งบุญแห่งกุศล กระแสพระนิพพานด้วยเถิด กำหนดจิต กำหนดรู้ ว่าจิตเราเบาลง กระแสวิบาก กระแสกรรมสลายตัวลง เบาลง ขยันหมั่นพิจารณา หมั่นทำสม่ำเสมอจนกระทั่งกระแสกรรมวิบาก กระแสเจ้ากรรมนายเวรลดน้อยลงไปจนหมด แผ่เมตตาอโหสิกรรม ขมากรรมจนจิตของเราเบา

           จากนั้นถอนในครั้งที่ 3 อารมณ์จิตเอาเราทรงอารมณ์อยู่บนพระนิพพาน ตั้งจิตว่าคำอธิษฐานใด อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ อวิชชาคุณไสยใด สิ่งใดที่ข้าพเจ้าเคยสัญญาแล้วก่อเวรก่อกรรม ก่อภพก่อชาติ คำสาปแช่ง คำจองเวรที่ข้าพเจ้ากระทำไปด้วยความไม่รู้ ทำไปด้วยความโลภ โกรธ หลง ทำไปด้วยอวิชชา ข้าพเจ้าขอถอนคำอธิษฐาน ถอนสัญญา ถอนบาปเวร ถอนอกุศลทั้งหลาย ออกไปจากจิต กระแสทั้งหลายเหล่านี้ที่เป็นเครื่องขัดขวางมรรคผลพระนิพพานของข้าพเจ้า ขอถอนให้สิ้นออกไปจากอนุสัยจิต ปราศนาการออกไปจากจิตกายทิพย์ของข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้ มีแต่เพียงกระแสแห่งบุญ มีเพียงกระแสแห่งกุศล มีเพียงแต่กระแสแห่งสัมมาทิฏฐิ ที่หลั่งไหลรวมสู่จิตของข้าพเจ้าแต่เพียงฝ่ายเดียว ถอนออกไปให้หมด จนจิตเบาขึ้น สะอาดขึ้น วิบากทั้งหลาย อกุศลทั้งหลายจงสลายตัวไปจนหมด

           เมื่อถอนทั้ง 3 ประการแล้ว เราก็น้อมรวม สิ่งแรกคือ ตั้งจิตอธิษฐาน รวมบุญ รวมกุศล รวมบารมีของเราอีกครั้งหนึ่ง บุญกุศล ทาน ศีล ภาวนา บารมี 30 ทัศ ความดีทั้งหลาย บุญกุศลทั้งหลาย สร้างพระมากี่รูป กี่พระองค์ ให้ธรรมทานมาเท่าไหร่ ถวายสังฆทาน ถวายมหาสังฆทานมาเท่าไหร่ ขอให้ภาพแห่งบุญกุศลจงหลั่งไหลรวมลงสู่จิต บุญจงส่งผลทันใจ บารมีจงรวมตัวเป็นหนึ่ง บุญกุศลทั้งหลายจงรวมตัวเป็นหนึ่ง ส่งผลในชาติปัจจุบัน เกิดความอัศจรรย์ ความรุ่งเรือง ความร่ำรวย ความเจริญทั้งทางโลกทางธรรม จงปรากฏถึงพร้อมขึ้นมาในจิตของข้าพเจ้า บุญทั้งหลายจงเป็นแสงสว่างพุ่งมาจากทุกภพภูมิ รวมมายังกายทิพย์ของเราในขณะนี้ ใจยิ่งสว่าง ใจยิ่งผ่องใส แสงสว่างของกายทิพย์ยิ่งสว่างขึ้น น้อมจิตตามให้ได้ตลอด ใจยิ่งผ่องใสยิ่งสว่าง บุญส่งผลทันใจ บุญใหญ่ส่งผลก่อน จากนั้นอธิษฐานจิตต่อไป เมื่อรวมบุญบารมีของตัวเราแล้ว ตั้งจิตอธิษฐานเจริญในมุทิตาอัปปมาณฌาน ตั้งจิตว่าบุญเกิดขึ้นจากโมทนา ข้าพเจ้าขอน้อมจิตโมทนาบุญในบารมีในมหากุศล บารมีทั้ง 30 ทัศของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ยินดีโมทนาในบารมีของพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ บุญกุศลแห่งพระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกพระองค์ พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์ พระบรมโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เทพพรหมเทวา กระแสกุศลทั้งหลายรวมถึงความดีบุญกุศลที่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ทั้งสัตว์หรือแม้แต่ท่านที่อยู่ภพอื่นภูมิใด ไม่ว่าจะเป็นเทวดา พรหม ข้าพเจ้าก็ขอโมทนาบุญด้วย หรือแม้แต่บุญในอดีตของผู้ที่เสวยทุคติอยู่ในภพอันเป็นทุกข์ ความดีของท่านก็ยังมีปรากฏ สิ่งใดที่เป็นความดีเป็นกุศล ข้าพเจ้าขอโมทนากับท่าน สิ่งใดที่เป็นอกุศลข้าพเจ้าขออุเบกขา สิ่งใดที่เป็นกุศลความดีเป็นแสงสว่างแม้เพียงน้อยนิดทั่วทั้ง 3 ภพภูมิ 1 พระนิพพาน ข้าพเจ้าขอน้อมโมทนามารวมสู่จิตสู่ใจของข้าพเจ้า ขออำนาจกำลังแห่งโมทนา การโมทนาเจริญมุทิตาไม่มีประมาณจงยังประโยชน์ให้จิตข้าพเจ้ายิ่งสว่างขึ้นผ่องใสขึ้น กำลังใจกำลังบุญข้าพเจ้าเพิ่มพูนขึ้นสว่างขึ้น รวมเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพานด้วยเทอญ

           จากนั้นตั้งจิตอธิษฐานรวมเป็นครั้งที่ 3 ตั้งจิตอธิษฐานกรรมฐานเดิมที่ข้าพเจ้าเคยทำมาในการก่อน ไม่ว่าจะเป็นอานาปานสติ กสิณ อรูปสมาบัติ กรรมฐานทั้ง 40 กอง มหาสติปัฏฐาน 4 ธรรมะที่เคยฟังจากครูบาอาจารย์ท่านใดในภพชาติใด ไม่ว่าจะเป็นครูบาอาจารย์ที่สอนธรรม ในยุคสมัยที่เป็นฤาษีทั้งในเขตพระพุทธศาสนา และนอกพระพุทธศาสนา ครูบาอาจารย์ กระแสธรรม ตั้งแต่สมัยที่พบเจอพระพุทธเจ้าพระองค์เก่า พระองค์ก่อนแต่เบื้องอดีตกาล ขอกระแสแห่งธรรม กระแสแห่งกุศล กระแสแห่งบารมี กรรมฐานเดิมกรรมฐานเก่าของข้าพเจ้าที่บำเพ็ญสะสมไว้ ตกหล่นในชาติใดภพใด ขอให้มารวมตัวมาจัดเรียงมาจัดลำดับจนเกิดเป็นมหาปัญญาบารมี ของเก่า บารมีเก่า กรรมฐานเก่าฟื้นคืนกลับคืนมา ให้การปฏิบัติธรรมข้าพเจ้าง่ายดาย เจริญในธรรม ขอกระแสธรรม ภาพกรรมฐานกองเดิม จงผุดรู้ปรากฏขึ้นในจิต หลั่งไหลเข้ามาสู่จิต ญาณเตรื่องรู้ต่างๆจงปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้ด้วยเถิด ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ญาณเครื่องรู้ กระแสธรรมผุดรู้ในจิตจงผุดรู้ตรง

           อธิษฐานต่อไปขอให้นับแต่นี้ข้าพเจ้าพบเจอแต่ครูบาอาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ครูบาอาจารย์ที่สอนธรรมะมุ่งลัดตัดตรงสู่มรรคผลพระนิพพาน ขอให้การปฏิบัติของข้าพเจ้าจงไม่เป็นที่เนิ่นช้า การปฏิบัติจงเป็นไปอย่างรวดเร็วก้าวหน้า ไม่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ไม่หลงไม่หลุดออกไปจากกระแสมรรคผลพระนิพพาน จากนั้นกำหนดจิตนะ เห็นภาพตัวเรานั่งอยู่บนดอกบัวแก้วสว่างท่ามกลางพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุกพระองค์ ซึมซับรับกระแสพระนิพพานพร้อมกับพิจารณาต่อไป ชาติภพทั้งหลาย ภพภูมิทั้งหลายล้วนแต่เป็นทุกข์ ข้าพเจ้าเห็นทุกข์ภัยในสังสารวัฏ ดวงตาเห็นธรรม เห็นประโยชน์เห็นคุณของพระนิพพาน บาปกรรมอกุศลทั้งหลาย วิบากทั้งหลาย หากยังเกิดก็ยังต้องพบเจอ ข้าพเจ้าขอพ้นจากวัฏฏะ ตั้งจิตมุ่งมั่นมีพระนิพพานเพียงจุดเดียว กำหนดจิตให้เห็นกายของเราสว่าง น้อมรับกระแสมรรคผลพระนิพพาน นับแต่นี้ขอให้ข้าพเจ้าอยู่ในกระแสแห่งพระนิพพาน กระแสแห่งมรรคแห่งผล ขอเทวดาพรหมทั้งหลายได้โปรดโมทนา และอภิบาลข้าพเจ้าในยามเจริญพระกรรมฐาน ขออาณาเขตในการเจริญพระกรรมฐานของข้าพเจ้านั้น มีกำลังแห่งพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพสังฆานุภาพ เทวดาพรหมนุภาพ ครอบคลุมคุ้มครองปกป้องรักษาเต็มกำลังด้วยเถิด ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในธรรมแห่งองค์พระสมณโคดม พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าถึงมรรคผลพระนิพพานในชาตินี้ เข้าถึงมรรคผลพระนิพพานได้อย่างง่ายดายด้วยเถิด

           น้อมจิตต่อไปนะ น้อมกระแสมุ่งลัดส่งลงไปยังภพของนรกภูมิ ตั้งจิตรำลึกนึกถึงพระยายมราชน้อมกระแสว่าการเจริญกรรมฐานของข้าพเจ้า การทำทานสร้างกุศล ทาน ศีล ภาวนาของข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้ตลอดชีวิตตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ขอพระยายมราชเป็นพยานบุญ หากข้าพเจ้าประมาทพลาดพลั้งลงไปยังสำนักพระยายม ก็ขอให้ท่านเมตตาเป็นพยานในการกุศล หากสิ่งใดที่ข้าพเจ้าลืมกรวดน้ำ ลืมอธิษฐาน สิ่งใดที่เป็นบุญกุศลก็ขอให้ถึงท่านโดยอัตโนมัติในทุกครั้งทุกวาระ

           จากนั้นตั้งจิตต่อไปนะ  ทรงอารมณ์เห็นภาพตัวเราสว่าง ทรงอารมณ์ใจในอารมณ์พระนิพพาน วางกำลังใจว่าใจเราเห็นทุกข์ในสังสารวัฏ เมื่อจิตเราเห็นทุกข์ในสังสารวัฏ ก็ได้ชื่อว่าได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นคุณแห่งพระนิพพาน ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อตั้งใจว่าจิตเราตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพาน จิตเราน้อมอยู่ในความเป็นพระโสดาปฏิมรรค ปฏิบัติเพื่อมีพระนิพพานเป็นที่สุด ส่วนอารมณ์ใจที่เราปฏิบัติต่อเพื่อความเป็นพระโสดาปฏิผล ก็กลับไปปฏิบัติพิจารณาตัดสังโยชน์ 3 ให้ขาดให้สิ้นเป็นสมุจเฉทปหาน มีความเคารพในพระพุทธเจ้าเต็มกำลัง ไม่มีความสงสัยในคุณพระรัตนตรัย มีความนอบน้อมในพระ ศีลมีความบริสุทธิ์ จิตไม่ทิ้งอารมณ์ที่พิจารณาว่าตายเมื่อไหร่ไปพระนิพพาน ทรงอารมณ์ความผ่องใสของจิตไว้ เห็นภาพตัวเราสว่าง นั่งอยู่บนดอกบัวแก้ว ท่ามกลางพระ กำหนดจิตว่าเราอยู่บนพระนิพพาน กราบพระ กายเนื้อเรากราบพระบนโลกมนุษย์พระพุทธรูปบนโลกมนุษย์ จิตเรากราบถึงพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน จิตเชื่อมโยงส่งถึงพระพุทธองค์ตลอดเวลา ความสงสัยไม่มีในจิตของเรา วางอารมณ์เบาๆสว่างผ่องใส อารมณ์จิตยิ่งเบา ยิ่งละเอียด ยิ่งปราณีต เข้าสู่สภาวะธรรม จากนั้นตั้งจิตว่าบุญกุศลทั้งหลาย ขออุทิศแผ่ไปยังสรรพสัตว์ทั่วอนันตจักรวาล จิตเรามีเมตตาอันไม่มีประมาณ พรหมวิหาร 4 เต็มเปี่ยมในจิต เราเป็นผู้ที่ปราศจากการเบียดเบียน เราเป็นผู้ที่ละเว้นการเบียดเบียน จิตเรามีแต่ความรักความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ ต่อมนุษย์ ต่อทุกรูปทุกนาม เราละแล้วซึ่งความอาฆาตพยาบาท เมตตาสลายล้างความอาฆาตพยาบาทจองเวรจนสิ้น มีแต่บุญกุศลที่จะอยู่ในจิตในใจของเรา สิ่งใดที่ทำให้เกิดความเร่าร้อนเป็นอกุศล เป็นบาปเวร เป็นเวรภัย เราละวางสลายปล่อยวาง

           จากนั้นน้อมจิตกราบพระพุทธเจ้า กราบพระปัจเจกพุทธเจ้า กราบพระอริยสงฆ์ กราบครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ท่านมาปรากฏ มาโปรด กระแสจิต ย้อนมาตรวจดูอารมณ์ใจเรา มีความเอิบอิ่มไหม มีความสว่าง มีความผ่องใสไหม กายทิพย์เราสว่างไหมมีความอิ่มใจไหม ส่วนทาน อารมณ์ใจของเราไว้เสมอ จากนั้นจึงกำหนดจิตนะ น้อมกระแสจากพระนิพพาน เป็นแสงสว่างส่องตรงลงมายังกายเนื้อบนโลกมนุษย์ของเรา กระแสแห่งพระนิพพาน กระแสบุญ กำลังแห่งการเจริญพระกรรมฐาน เป็นกระแสบุญฟอกธาตุขันธ์ เป็นแสงสว่างลำแสงสะอาดขนาดใหญ่ ชำระล้างกายเนื้อของเรา ฟอกขัดธาตุขันธ์ ขันธ์ 5 ของเราให้ใสเป็นแก้ว ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โครงกระดูก เนื้อเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ วิบากกรรมทั้งหลาย สลายออกไปจากร่างกายขันธ์ 5 กาย วาจา ใจสะอาดบริสุทธิ์หมดจด กระแสแห่งกุศล ใครที่รับยันต์เกราะเพชรมา ใครที่อาราธนาบารมีพระไว้ ก็ขอให้เกิดความสว่างความชัดเจน เกิดกำลังแห่งพุทธานุภาพ ประสิทธิประสาทลงมายังกายเนื้อกายทิพย์ของเราเต็มกำลัง จากนั้นกำหนดจิต โมทนาสาธุ พุ่งกายทิพย์กลับลงมายังกายเนื้อบนโลกมนุษย์ โมทนาสาธุกับกัลยาณมิตรที่มาปฏิบัติธรรมร่วมกันในวันนี้ ทั้งในภาคเช้าและภาคบ่าย กุศลที่น้อมนำให้มาการปฏิบัติธรรมเมตตาภิรมย์เมตตาสมาธิเจอ ไม่ใช่เหตุบังเอิญ เป็นธรรมะเป็นบุญจัดสรร กระแสจากพระนิพพานที่เราน้อมลงมา ช่วยกันเป็นกำลังให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคชาววิไล ยิ่งมีผู้เข้าสู่ธรรม เข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้ามากเท่าไหร่ ผู้เข้าถึงเมตตาอันไม่มีประมาณมากเท่าไหร่ โลกก็ก้าวสู่ยุคชาววิไลได้มากเท่านั้น ความเบียดเบียนเร่าร้อนทางโลกก็ลดลงมากเท่านั้น เราน้อมจิตว่าเราได้มาช่วยโลกให้เข้าสู่กุศล ความเร่าร้อนจงดับลง อกุศลในดวงจิตทั้งหลายจงสลายตัว จงดับลง กระแสธรรมจงปรากฏ จงสว่าง จงฟื้นตื่น เข้าสู่ยุคชาววิไล โลกจงฟื้นคืนขึ้นสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา คล้ายดั่งสมัยพุทธกาล มากด้วยพระอริยเจ้า มากด้วยพระโพธิสัตว์ มากด้วยกุศลความดี

           จากนั้นจึงกำหนดนะ นึกภาพในจิตเราเห็นเป็นดอกบัวค่อยๆแย้มบาน หายใจเข้าลึกๆ ดอกบัวบานขึ้น ใจแย้มยิ้มเบิกบาน จนออกปรากฏมาสู่ใบหน้า หายใจเข้าพุท ออกโธ หายใจเข้าออกครั้งที่ 2 ธัมโม หายใจเข้าออกครั้งที่ 3 ใจยิ้มจิตยิ้มเป็นสุขเอิบอิ่ม เป็นสุขทั้งก่อนปฏิบัติ จิตเป็นสุขในยามปฏิบัติธรรม จิตเป็นสุขแม้ยามออกจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ความผ่องใสปรากฏ รอยยิ้มกระแสจิตปรากฏเป็นรัศมี เป็นออร่า เป็นรัศมีจากกาย จากใบหน้า จากรอยยิ้มของเรา จากนั้นจึงค่อยๆลืมตาขึ้น ด้วยอารมณ์จิตอันเป็นสุข เป็นไงบ้าง สบายไหม ชั่วโมงรวด สบายไหม หันไปดูเพื่อนนี้หน้าใสขึ้นไหม อันนี้ก็โชคดีนะได้ได้ล้างกรรมด้วยนะ ให้เป็นโมฆะกรรม โมฆะกรรมนี้มีอย่างเดียวคืออโหสิกรรม  กลับไปก็จะได้รุ่งเรือง พอเคลียร์จิตมันจะไม่มีวิจิกิจฉา ดังนั้นคำถามไม่ค่อยมีหรอก แต่คราวนี้สิ่งที่เพิ่มก็คือ ใครที่ยังไม่เขียนแผ่นทองครับ จริงๆก็คือเป็นแผ่นทองอธิษฐานนิพพาน คือที่จริงวิธีเขียนก็คือยกจิตขึ้นไปอยู่หน้าพระ แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่าการปฏิบัติของข้าพเจ้าเป็นไปเพื่อพระนิพพาน แล้วกายอยู่บนโลกมนุษย์เขียนแผ่นทอง จิตอยู่ข้างบนอยู่กับพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน ยากกว่านี้คือรวบรวมแสนแผ่น ขึ้นไปวันนึง 3 รอบ ก็ช่วยเขียน 3 รอบ เมื่อไรที่เราเขียนก็คือจิตเรายิ่งย้ำในอารมณ์พระนิพพาน มุ่งมั่นอยู่กับพระนิพพาน  แล้วก็มีเรื่องอะไรอีกเอ่ย แล้วก็อย่าลืมที่จะเข้ามาร่วมในห้องกลุ่มของเมตตาสมาธิก็มีสอนเรื่อยๆเวลา 21:00 น วันอาทิตย์นะครับ

เรียบเรียงและถอดความโดย คุณ Wannapa

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหานี้ได้